วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักแต่งเพลงของโลก

กุสตาฟ มาห์เลอร์
กุสตาฟ มาห์เลอร์ (เกิด 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1860 - เสียชีวิต 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1911) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวโบฮีเมียน-ออสเตรียน มาห์เลอร์เป็นที่รู้จักในยุคของเขา ในฐานะวาทยากรชื่อดังแห่งยุค แต่ในปัจจุบัน เขากลับเป็นที่ยอมรับในฐานะคีตกวีแห่งยุคนีโอโรแมนติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากซิมโฟนี และบทเพลงในลักษณะซิมโฟนี เช่น เพลง Das Lied von der Erde (บทเพลงแห่งโลก) ที่เป็นจุดสุดยอดของบทเพลงขับร้องที่เขาประพันธ์ ส่วนซิมโฟนีหมายเลข 3 ความยาว 95 นาที นับเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดที่เคยมีการเปิดแสดง และยังชื่อได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ยาวที่สุดในบรรดาซิมโฟนีทั้งหลายอีกด้วย
ประวัติ
กุสตาฟ มาห์เลอร์ เกิดในครอบครัวชาวยิวในเมืองคาลิชท์ แคว้นโบฮีเมีย บิดามารดาของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองจิห์ลาวา แคว้นโมราเวีย จักรวรรดิออสโตร-ฮังกาเรียน ซึ่งมาห์เลอร์ได้ใช้เวลาในวัยเด็กส่วนใหญ่ที่นั่น หลังจากที่บิดามารดาของมาห์เลอร์ได้สังเกตเห็นความสามารถทางดนตรีของเขาตั้งแต่วัยเด็ก จึงจัดการให้เขาได้เรียนเปียโนตั้งแต่อายุหกขวบ ในปีค.ศ. 1875 มาห์เลอร์ผู้ซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 15 ปี ได้รับให้เข้าศึกษาในวิทยาลัยดนตรีแห่งกรุงเวียนนา ที่ซึ่งเขาได้เรียนเปียโนกับจูเลียส เอปสไตน์ สามปีต่อมา มาห์เลอร์ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเวียนนา ที่ซึ่งอันโตน บรูคเนอร์เป็นอาจารย์ประจำอยู่ ในระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย เขาได้ทำงานเป็นครูสอนดนตรีไปด้วย และได้ลองประพันธ์เพลงเป็นครั้งแรก กับเพลงร้องที่มีชื่อว่า Das klagende Lied ซึ่งตอนหลังได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นคันตาต้า ได้ส่งเข้าประกวดแต่ประสบกับความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
ในปีค.ศ. 1880 มาห์เลอร์ได้เริ่มทำงานในตำแหน่งวาทยากร ซึ่งเป็นงานช่วงฤดูร้อนที่โรงละครแบดฮอลล์ ซึ่งในปีต่อๆมาเขาได้เป็นวาทยากรในโรงอุปรากรใหญ่หลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า ที่โรงอุปรากรเมืองลุบลานาในปีค.ศ. 1881 เมืองโอโลมุคในปีค.ศ. 1882 เมืองคาสเซลในปีค.ศ. 1884 กรุงปรากในปีค.ศ. 1885 เมืองไลพ์ซิกในปีค.ศ. 1886 และที่กรุงบูดาเปสต์ในปีค.ศ. 1888 ในปีค.ศ. 1887 เขาได้รับตำแหน่งเป็นวาทยากรควบคุมการบรรเลงอุปรากรชุดของริชาร์ด วากเนอร์ ที่มีชื่อว่าเดอะ ริง แทนที่อาร์ตู นิคิชที่ล้มป่วย และได้สร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนและต่อนักวิจารณ์ ในปีหลังจากที่เขาได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Die drei Pintos ที่ คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ประพันธ์ไว้ไม่จบ มาห์เลอร์ประสบความสำเร็จอย่างสูง อีกทั้งยังสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับเขาอย่างมาก เขาได้รับตำแหน่งงานระยะยาวตำแหน่งแรกที่โรงอุปรากรแห่งนครฮัมบูร์ก ในปีค.ศ. 1891 จนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1897 ในช่วงเวลานั้น เขาได้ใช้เวลาในช่วงพักร้อนที่เมืองสไตน์บาค-อัม-อัทเทอร์ซีในออสเตรียตอนบน อุทิศให้แก่การประพันธ์เพลง และได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 1 บทเพลงส่วนใหญ่ในเพลงชุดขับร้อง และแตรวิเศษของวัยเด็ก ซึ่งเป็นการรวมเพลงที่มีชื่อเดียวกันกับบทกวีพื้นบ้าน
ผลงาน
ซิมโฟนี
1.ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์, "Titan" (ค.ศ. 1884-ค.ศ. 1888)
2.ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์, "Resurrection" (ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1894)
3.ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง ดี ไมเนอร์ (ค.ศ. 1895-ค.ศ. 1896)
4.ซิมโฟนีหมายเลข 4 ในบันไดเสียง จี เมเจอร์ (ค.ศ. 1899-ค.ศ. 1901)
5.ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซีชาร์ป ไมเนอร์ (ค.ศ. 1901-ค.ศ. 1902)
6.ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง เอ ไมเนอร์, "Tragic" (ค.ศ. 1903-ค.ศ. 1904)
7.ซิมโฟนีหมายเลข 7 ในบันไดเสียง อี ไมเนอร์, "Song of the Night" (ค.ศ. 1904-ค.ศ. 1905)
8.ซิมโฟนีหมายเลข 8 ในบันไดเสียง อีแฟลต ไมเนอร์, "Symphony of a Thousand" (ค.ศ. 1906)
9.ซิมโฟนีหมายเลข 9 ในบันไดเสียง ดี เมเจอร์ (ค.ศ. 1909-ค.ศ. 1910)
10.ซิมโฟนีหมายเลข 10 ในบันไดเสียง เอฟ-ชาร์ป ไมเนอร์ (ค.ศ. 1910-ค.ศ. 1911) แต่งไม่จบ
ผู้นำบทเพลงที่มาห์เลอร์ประพันธ์ไม่จบมาประพันธ์ต่อ
1.Adagio and Purgatorio สำหรับการแสดง โดย Ernst Krenek (ค.ศ. 1924)
2.Deryck Cooke (ค.ศ. 1960, ค.ศ. 1964, ค.ศ. 1976, ค.ศ. 1989)
3.Joseph Wheeler (ค.ศ. 1948-ค.ศ. 1965)
4.Clinton Carpenter (ค.ศ. 1966)
5.Remo Mazzetti, Jr. (ค.ศ. 1989)
6.Rudolf Barshai (ค.ศ. 2000)
7.Nicola Samale ร่วมกับ Giuseppe Mazzucca (ค.ศ. 2002)
บทเพลงสำหรับขับร้อง
1.Das klagende Lied, (ค.ศ. 1880)
2.Drei Lieder, บทเพลงสามบทสำหรับนักร้องเสียงเทนเนอร์และเปียโน (ค.ศ. 1880)
3.Lieder und Gesänge aus der Jugendzeit เพลง 14 บทพร้อมกับเปียโนประกอบ (ค.ศ. 1880-ค.ศ. 1890)
4.Lieder eines fahrenden Gesellen (Songs of a Wayfarer) สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1883-ค.ศ. 1885)
5.Lieder aus "Des Knaben Wunderhorn" (แตรวิเศษของวัยเด็ก) สำหรับเสียงร้องและวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1888-ค.ศ. 1896, อีกสองบทแต่งในปี ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1901)
6.Rückert Lieder สำหรับร้องประกอบเปียโน หรือวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1901-ค.ศ. 1902)
7.Kindertotenlieder (เพลงสำหรับการตายของเด็ก) สำหรับนักร้องและวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1901-ค.ศ. 1904)
8.Das Lied von der Erde (The Song of the Earth) สำหรับนักร้องและวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1907-ค.ศ. 1909)
หมายเหตุ : ผลงานนี้จัดได้เป็นทั้งประเภทซิมโฟนี และเพลงชุดขับร้อง มาห์เลอร์หลีกเลี่ยงที่จะตั้งชื่อเพลงนี้ว่าซิมโฟนีหมายเลข 9 ด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์ และความกลัวอาถรรพ์หมายเลข 9
คาร์ล ออร์ฟ
คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff) คีตกวีชาวเยอรมัน เกิดที่นครมิวนิค เมื่อวันที่10 กรกฎาคม ค.ศ. 1895 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1982 ที่นครมิวนิคเช่นกัน ออร์ฟเป็นหนึ่งในคีตกวีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสำเร็จของเขามีอิทธิพลอย่างมากในสาขาดนตรีศึกษาอีกด้วย เขาเป็นที่รู้จักจากผลงานประพันธ์เพลง คาร์มินา บูรานา ในปีค.ศ. 1937
ประวัติ
ออร์ฟ เชื่อว่า ดนตรี(Music) การเคลื่อนไหว(Movement)และการพูด(Speech) เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งสามสิ่งรวมกันเป็นเอกภาพ(Unity) ซึ่งออร์ฟเรียกว่า “ดนตรีเบื้องต้น”(Elelmental Music) คำว่า”ดนตรีเบื้องต้น”นี้ออร์ฟ หมายถึง การแสดงออกทางดนตรีของบุคคลที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ออร์ฟได้สังเกตจากเด็กในสภาวะแวดล้อมปรกติไม่มีกฏเกณฑ์อะไรบังคับ เด็กจะใช้ดนตรี การเคลื่อนไหว และภาษาพูดไปพร้อมกัน เด็กที่กำลังเต้นรำจะร้องเพลงไปด้วย เมื่อเด็กร้องเพลงเขาก็มักจะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเสียงเพลง
ออร์ฟ นั้นมีความยอมรับทฤษฎีที่ว่าประวัติศาสตร์ดนตรีย่อมแสดงตัวของมันอยู่ในพัฒนาการชีวิตของแต่ละคน เขาได้ย้อนกลับไปพิจารณาถึงในยุคต้นของการก่อเกิดวัฒนธรรม ที่คนทั่วไปใช้ดนตรีเป็นสิ่งแสดงความรู้สึกของตนเองโดยไม่ได้รับการฝึกฝน การเคลื่อนไหวและการพูด มักจะรวมอยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ออกกับดนตรีที่ใช้แสดงความรู้สึกเหล่านั้น ออร์ฟใช้กรณีของเด็กเล็กมาเปรียบเทียบกับคนป่าคนเถื่อนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนดนตรีมาก่อน เขาเชื่อว่าการศึกษาดนตรีควรจะเริ่มด้วยความรู้ที่ง่ายๆจากเพลงง่ายๆและพัฒนาขึ้นไปสู่ ดนตรีที่ซับซ้อนหรือบทเพลงที่ยากขึ้น ด้วยข้อสรุปนี้ ออร์ฟ ได้วางแผนการศึกษาที่เป็นขั้นๆต่อเนื่องกันโดยมีโครงสร้างเริ่มจากสิ่งที่ได้ง่ายที่สุดแล้วมีการสอนทับถมเพิ่มเติมจนไปสู่สิ่งที่ซับซ้อนที่สุด แผนการศึกษาของออร์ฟ เช่นนี้ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง ซึ่งออร์ฟ เรียกแผนการศึกษาของเขาว่า Schulwerk Schulwerk ของออร์ฟนั้น เขากล่าวว่า ควรเริ่มต้นใช้กับเด็กวัยต้นๆ และควรใช้ประสบการณ์ของตัวเด็กเองเป็นอุปกรณ์การสอนดนตรี เช่น ชื่อของเด็ก คำง่ายๆที่คุ้นเคย เป็นต้น ออร์ฟ คิดว่า จังหวะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของดนตรี(Rhytm is strongest of the elements of music)การแสดงออกของมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติที่สุดและสามัญที่สุดคือ การใช้จังหวะ เขาได้สอนความคิดเรื่องจังหวะโดยผ่านคำพูดและการเคลื่อนไหว ออร์ฟมีความคิดเช่นเดียวกันดาลโครซ ที่ว่า การเรียนเครื่องดนตรีต่างๆนั้น ควรจะตามหลังพัฒนาการของทักษะพื้นฐานที่จำเป็นทางดนตรี อันได้แก่
ผลงาน
การฟัง
1. การจดจำขั้นคู่ของทำนองเพลงและการร้องทำนองเพลง(melodic Interval)
2.การจดจำและการปฏิบัติแบบแผนของจังหวะ(rhythmic patterns)
ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของออร์ฟ
ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของออร์ฟนั้นตั้งอยู่บนรากฐานของการปฏิบัติการสื่อสารในเด็ก (Communicative performance)และเน้นความเป็นตัวของตัวเองเป็นอย่างมาก อุปกรณ์เพลงต่างๆได้มาจากความคิดของเด็กเองโดยมีบทเพลงของ Schulwerk ซึ่งมีรูปแบบของทำนองและจังหวะที่ถูกออกแบบอย่างดีเป็นตัวอย่างเพลงของเด็ก ซึ่งเรียบง่าย ถูกกับจริตของเด็ก เป็นธรรมชาติ และมีการใช้ร่างกายประกอบ เหมือนการเล่นของเด็ก ดนตรีเบื้องต้นของออร์ฟนั้นได้ถูกพัฒนามาจากข้อสรุปที่ว่าเด็กจะเป็นผู้แสดงถึงพัฒนาการทางดนตรีของมนุษยชาติจากประสบการณ์และพัฒนาการทางดนตรีของเด็กเอง ประสบการณ์ดนตรีของเด็กจะเรียบง่าย เช่น การกู่ร้อง การท่อง การกระทืบเท้า และการตบมือ ในดนตรีเบื้องต้นนั้น การพูด การร้องเพลง และการเคลื่อนไหว ไม่สามารถถูกแยกออกจากกัน แต่จะหลอมรวมกัน เหมือนกับการแสดงออกทางดนตรีโดยธรรมชาติอันแท้จริงนั่นเองในระบบการสอนของออร์ฟ การสร้างสรรค์(Creatinity) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ออร์ฟได้เปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์แบบต่อเนื่องหลายแบบ เด็กจะสำรวจเสียงของคำพูด ทำนองเพลง และเสียงเครื่องดนตรี เขาจะเลือกแบบแผนของจังหวะและทำนองจากตัวอย่าง และใช้มันประดิษฐ์ดนตรีประกอบ , บทขึ้นต้น,บทจบหรือบางทีเขาอาจจะแต่งทั้งเพลงเลยก็ได้ กิจกรรมการสอนขั้นต้นนั้นก็เหมือนการเล่นเกมประกอบดนตรี ครูจะต้องคอยช่วยนักเรียนในการจดโน้ตที่เด็กคิดแต่งขึ้น วิจารณ์และช่วยปรับปรุงเพลงนั้น พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้เกี่ยว
จาโกโม ปุชชีนี
จาโกโม อันโตนีโอ โดเมนีโก มีเกเล เซกอนโด มารีอา ปุชชีนี (อังกฤษ: Giacomo Puccini 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดที่เมืองลูคคา ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ปุชชินี และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 โอเปร่าที่โด่งดังของเขาได้แก่เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย และ ทอสก้า
ประวัติ
ปุชชีนีเกิดที่เมืองลุกกา ในครอบครัวที่สืบทอดประเพณีทางดนตรีมาเป็นเวลายาวนาน
ภายหลังการเสียชีวิตของบิดาเมื่อเขามีอายุได้เพียงห้าขวบ เขาได้ถูกส่งไปเรียนดนตรีกับลุงชื่อฟอร์จูนาโต มากิ ผู้ซึ่งบอกว่าปุชชีนีเป็นเด็กที่ไม่มีพรสวรรค์และยังขาดวินัยในตนเอง
ต่อมา เขาได้กลายเป็นนักเล่นออร์แกนในโบสถ์ แรงบันดาลในเกี่ยวกับโอเปร่าเกิดขึ้นกับเขาภายหลัง เมื่อเขาได้ชมโอเปร่าเรื่องไอด้า ของจูเซปเป เวอร์ดิ ระหว่างปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ถึง พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) เขาได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแห่งนครมิลาน ที่ซึ่งเขาได้เป็นศิษย์ของอามิลกาเร ปอนชิเอลลี และ อานโตนิโอ บาซซินี
ในปี พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) ปุชชีนีเข้าร่วมการแข่งขันประพันธ์โอเปร่าที่มีองค์เดียว แม้ว่าผลงานเรื่อง Le Villi ของเขาจะไม่ได้รับรางวัล แต่ก็ได้เปิดการแสดงในปี พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1884) ในเวลาต่อมาที่โรงละครแห่งเมืองเวอร์เม และได้ดึงดูดความสนใจของจูลิโอ ริคอร์ดิ ผู้จัดโอเปร่าซึ่งก็ได้สั่งให้เขาประพันธ์เรื่อง เอ็ดก้าร์ ในเวลาต่อมา
ผลงานเรื่องที่สาม Manon Lescaut ไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมงานกันอย่างราบรื่น ระหว่างนักประพันธ์คำร้อง ลุยกิ อัลลิกา และ จูเซปเป จิอาโคซา ผู้ซึ่งร่วมงานกับเขาในโอเปร่าสามเรื่องต่อมา โดยมี La Bohème เป็นเรื่องแรก (จากโศกนาฏกรรมของอองรี มูร์แจร์) และได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของโอเปร่าโรแมนติก เรื่องถัดมาได้แก่ ทอสกา ได้กลายเป็นผลงานแนวเวอริสซึมเรื่องแรกของปุชชินี มาดามบัตเตอร์ฟลาย (จากบทประพันธ์ของเดวิด เบลาสโค) ได้รับการตอบรับอย่างเย็นชาในการเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ แม้ว่าบทเพลงออเคสตร้าจะได้รับการเรียบเรียงขึ้นอย่างยอดเยี่ยม ซึ่งก็กลายเป็นโอเปร่าที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเรื่องหนึ่งในภายหลัง
กิจกรรมการประพันธ์ดนตรีของปุชชีนีได้ชะลอลงในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ทำให้เขาต้องเดินขากระเผกในที่สุดในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) จิอาโคซา ผู้ประพันธ์คำร้องของปุชชีนีเสียชีวิต และในปี พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) ก็ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวขึ้น เมื่อสาวใช้ของปุชชีนีถูกเอลวิรา เจมีนานิ ภรรยาของปุชชีนีกล่าวหามีความสัมพันธ์กับจิอาโคซา ทำให้สาวใช้ฆ่าตัวตายในที่สุดIl Trittico ได้ถูกประพันธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) โอเปราเรื่องมีสามองค์ที่ถูกเรียงร้อยเข้าด้วยกันแบบ กร็องด์ กินโยล (ละครหุ่นใหญ่) ปารีส โดยมี Il Tabarro เป็นเรื่องราวสยองขวัญ Suor Angelica เป็นโศกนาฏกรรมสะเทือนอารมณ์ และ Gianni Schicchi เป็นละครตลกขบขัน ในสามองค์นี้ Gianni Schicchi ได้รับความนิยมมากที่สุด ในขณะที่ Il Tabarro ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้อยกว่าชชีนีเสียชีวิตที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) จากอาการหัวใจล้มเหลวอันเนื่องมาจากโรคมะเร็งในลำคอ ให้เรื่อง Turandot โอเปร่าเรื่องสุดท้ายของเขาประพันธ์ไม่จบ สองฉากถูกท้ายถูกประพันธ์ให้แล้วเสร็จโดยฟรองโค อัลฟาโน ในปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ตอนจบใหม่ของเรื่องนี้ได้ถูกประพันธ์โดยลูซิอาโน เบอริโอ
ผลงานประพันธ์โอเปร่าที่สำคัญ
1.La Bohème เปิดแสดงที่เมืองตูริน ในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896)
2.ทอสกา เปิดแสดงที่กรุงโรม ในปีค.ศ. 1900
3.มาดามบัตเตอร์ฟลาย เปิดแสดงที่โรงละคร ลา สกาลา นครมิลาน ในปีค.ศ. 1904
4.La fanciulla del West เปิดแสดงที่ เมโทรโปลิแทนโอเปร่า ในนครนิวยอร์ก ในปีค.ศ. 1910
5.La rondine เปิดแสดงที่มอนติคาร์โล ในปีค.ศ. 1917
6.Il trittico (มีสามองค์ Il Tabarro, Suor Angelica และ Gianni Schicchi) เปิดแสดงที่ เมโทรโปลิแทนโอเปร่า ในนครนิวยอร์ก ในปีค.ศ. 1918
7.Turandot (ประพันธ์ไม่จบในปีค.ศ. 1924) เปิดแสดงที่โรงละคร ลา สกาลา นครมิลาน เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1926 (ได้รับการประพันธ์ต่อโดยฟรองโค อัลฟาโน)
จูเซปเป แวร์ดี
จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (อังกฤษ Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากโอเปร่าเรื่อง ลา ทราวิอาตา ไอด้า อัศวิโอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันแวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจอมจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเซโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรเวอร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของโอเปร่าเรื่อง ชายไว้เคราแห่งเมืองเซวิลยา (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคชิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโว ลาวินยา
ผลงานประพันธ์โอเปราเรื่องแรกของเขาได้แก่เรื่อง Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์เพลงประกอบละครตลกครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไกย์ นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของเวอร์ดิ และเขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขาหลังจากที่โอเปร่าเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกันในปีต่อมา โอเปร่าเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดีแต่เขาก็เห็นว่าการแสดงผลงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงโอเปร่าเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่างๆทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอนในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้ง จากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอะพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนักโอเปร่าเรื่องอื่น ๆ ได้ถูกประพันธืขึ้นในช่วงเวลานี้ได้แก่เรื่อง งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) เวอร์ดิได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่างๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก) จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่าๆมาแก้ไขเล็กๆน้อยๆ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีสในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าและประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาก็ได้ประพันธ์บทเพลงให้ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครโอเปร่าแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ
ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงที่เขาได้ประพันธให้กับกลุ่มนักร้องประสานเสียงชาวยิวขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ)
เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิกเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิกเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้ริเริ่มการปลุกระดม ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») คีตกวีทราบถึงการนำชื่อของเขาไปใช้และตามหลักแล้วเขาควรจะบอกห้ามแต่ก็ไม่ได้ทำ เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกกนำเสนอในบทโอเปร่าเรื่อง I Lombardiแวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสถ์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี

รายชื่อผลงาน
โอเปร่า
1.Oberto, Conte di San Bonifacio (17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1839 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
2.Un giorno di regno (5 กันยายน ค.ศ. 1840 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
3.Nabucco หรือ «Nabucodonosor» (9 มีตาคม ค.ศ. 1842 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
4.I Lombardi alla prima crociata (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1843 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
5.Ernani (9 มีนาคม ค.ศ. 1844 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
6.I due Foscari (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1844 ที่โรงละครอาร์เจนตินา กรุงโรม)
7.Giovanna d'Arco (15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1845 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
8.Alzira (22 สิงหาคม ค.ศ. 1845 ที่โรงละครซันการ์โล เมืองเนเปิลล์)
9.Attila (17 มีนาคม ค.ศ. 1846 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
10.Macbeth (14 มีนาคม ค.ศ. 1847 ที่โรงละครเปอร์โกลา นครฟลอเรนซ์)
11.I Masnadieri (22 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 ที่โรงละครควีนส์เทียเตอร์ กรุงลอนดอน)
12.Jérusalem ดัดแปลงจากเรื่อง «I Lombardi» (26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1847 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
13.Il Corsaro (25 ตุลาคม ค.ศ. 1848 ที่โรงละครเตอาโตรกรันเด เมืองทรีเอสต์)
14.La Battaglia di Legnano (27 มกราคม ค.ศ. 1849 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
15.Luisa Miller (8 ธันวาคม ค.ศ. 1849 ที่โรงละครซันการ์โล เมืองเนเปิลส์)
16.Stiffelio 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1850 ที่โรงละครเตอาโตรกรันเด เมืองทรีเอสต์)
17.Rigoletto (11 มีนาคม ค.ศ. 1851 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
18.Il Trovatore (19 มกราคม ค.ศ. 1853 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
19.La Traviata (6 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
20.เรื่องงูพิษแห่งเกาะซิซิลี (13 มิถุนายน ค.ศ. 1855 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
21.Giovanna de Guzman ou «I vespri siciliani» ตัดแปลงจากเรื่องงูพิษแห่งเกาะซิซิลี (ค.ศ. 1856 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
22.Simon Boccanegra (12 มีนาคม ค.ศ. 1857 ที่โรงละครลาเฟนิกซ์ นครเวนีซ)
23.Aroldo ดัดแปลงจาเรื่อง «Stiffelio» (16 สิงหาคม ค.ศ. 1857 ที่โรงละครเตอาโตรนูโว เมืองทริมินี)
24.Un ballo in maschera (17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1859 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
25.La Forza del Destino (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 ที่โรงละครหลวงแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
26.Macbeth ภาคดัดแปลง (21 เมษายน ค.ศ. 1865 ที่โรงละครเตอาตร์ลีรีก กรุงปารีส)
27.Don Carlos (11 มีนาคม ค.ศ. 1867 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
28.ไอด้า (24 ธันวาคม ค.ศ. 1871 ที่โรงละครอิตาเลียน กรุงไคโร)
29.Don Carlo ดัดแปลงจากเรื่อง «Don Carlos» (ค.ศ. 1872 ที่โรงละครซันการ์โล เมืองเนเปิลส์)
30.Simon Boccanegra.
31.La force du destin ดัดแปลงจากเรื่อง «La Forza del Destino» (14 มีนาคม ค.ศ. 1883 ที่เมืองอองแวร์)
32.Don Carlo ดัดแปลงจากเรื่อง «Don Carlos» (10 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
33.อัศวินโอเทลโล (5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
34.Falstaff (9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1893 ที่โรงละครลาสกาลา นครมิลาน)
บทเพลงขับร้อง
1.Sei Romanze (ค.ศ. 1838)
2.Non t'accostar all'urna (Jacopo Vittorelli)
3.More, Elisa, lo stanco poeta (Tommaso Bianchi)
4.In solitaria stanza (Vittorelli)
5.Nell' orror di note oscura (Carlo Angiolini)
6.Perduta ho la pace
7.Deh, pietoso, o addolorata
8.L'esule (ค.ศ. 1839) (Temistocle Solera)
9.La seduzione (ค.ศ. 1839) (Balestra)
10.Guarda che bianca luna: notturno (ค.ศ. 1839)
11.Album di Sei Romanze (ค.ศ. 1845)
12.Il tramonto (Andrea Maffei)
13.La zingara (S. Manfredo Maggioni)
14.Ad una stella (Maffei)
15.Lo Spazzocamino (Maggioni)
16.Il Mistero (Felice Romani)
17.Brindisi (Maffei)
18.Il poveretto (ค.ศ. 1847) (Maggioni)
19.L'Abandonée (ค.ศ. 1849) (Escudier?)
20.Stornello (ค.ศ. 1869) (annon.)
21.Pietà Signor (ค.ศ. 1894) (ประพันธ์ร่วมกับ Boito)
บทเพลงทางศาสนา
1.เรควีเอ็ม (22 พฤษภาคม ค.ศ. 1874 ที่โรงละครลา สกาล่า นครมิลาน)
2.«Volgarizzati» da Dante (18 เมษายน ค.ศ. 1880 ที่นครมิลาน)
3.Pater noster (ค.ศ. 1873)
4.Ave Maria (ค.ศ. 1880)
5.Quattro Pezzi sacri (7 เมษายน ค.ศ. 1898 ที่กรุงปารีส)
6.Ave Maria
7.Stabat Mater
8.Laudi alla Vergine Maria
9.Te Deum
เพลงบรรเลง
1.Suona la tromba (ค.ศ. 1848) (Giuseppe Mameli)
2.Inno delle Nazioni (ค.ศ. 1862)
3.ควอร์เต็ตเครื่องสาย ในบันไดเสียงอีไมเนอร์ (ค.ศ. 1873)
ฌอร์ฌ บีแซ
ฌอร์ฌ บีแซ (ฝรั่งเศส Georges Bizet; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2381 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2418) คีตกวีชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19
ประวัติ
ฌอร์ฌ บีแซ เกิดที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) มีบิดาเป็นอาจารย์สอนขับร้อง และมารดาเป็นนักเปียโนสมัครเล่น เสียชีวิตที่บูฌีวาล ในปี พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875)บีแซเมีความสามารถทางดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก และได้เข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ ณ กรุงปารีส เมื่อมีอายุได้ 19 ปี เขายังได้รับรางวัลทางดนตรีมากมาย ทั้งการแข่งขัน โซลเฟจ เปียโน ฟูเก้ และออร์แกนแม้กระทั่งวันนี้ ผลงานประพันธ์เพลงโอเปราของบีแซเรื่อง การ์เมน ก็ยังเป็นหนึ่งในโอเปราที่มีการเปิดการแสดงมากที่สุดเรื่องหนึ่งในโลก
ผู้รับบทเป็นการ์เมนผู้โด่งดัง
1.เทเรซา เบอร์แกนซา
2.มารีอา คาลาส
3.วิกตอเรีย เดอ ลอส แองเจลลีส
4.เกรซ บัมบรี
5.แอกเนส บัลต์ซา
6.เรจีน เครสปิน
ผลงานเพลง
ดนตรีสำหรับโอเปราและการแสดงบนเวที
1.ลาแพรแทร็ส, จุลอุปรากร (1854)
2.เลอด็อกเตอร์มีรักล์, opéra bouffe (1857)
3.ดอนโปรโกปีโอ, opéra bouffe (1859)
4.เลแปเชอร์เดแปร์ล, โอเปรา (1863)
5.ลาฌอลีฟีย์เดอแปร์ต, โอเปรา (1867)
6.ลาร์เลเซียน, musique de scène (1872)
7.การ์เมน, โอเปรา (1875)
8.Djamileh, opéra en un acte (1878)
นตรีสำหรับวงออเคสตรา เปียโน และทำนองเพลง
1.Symphonie en ut majeur (1855)
2.Six Chants du Rhin (1865)
3.Variations chromatiques (1868)
4.Souvenirs de Rome (« Roma ») (1869)
5.Jeux d'enfants, suite pour piano à quatre mains (1871)
ฌัก ออแฟนบัก
ฌัก ออแฟนบัก (ฝรั่งเศส Jacques Offenbach, /ɔfɛnbak/) ชื่อเมื่อเกิดคือ ยาค็อบ ออฟเฟนบัค (เยอรมัน Jacob Offenbach 20 มิถุนายน พ.ศ. 2362 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2423) เป็นคีตกวีชาวเยอรมันที่โอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส
ประวัติ
ออแฟนบักเข้าเรียนเชลโล ที่วิทยาลันดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งกรุงปารีส และได้เริ่มต้นอาชีพเป็นนักดนตรีเอกที่เล่นเดี่ยว ต่อมาได้เข้าร่วมวงออเคสตราของ โอเปร่า-โคมิค และที่ โรงละครชวนหัวฝรั่งเศสในกรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) เข้าได้สร้างโรงละครส่วนตัวขึ้นเพื่อจะไว้เป็นที่เปิดแสดงผลงานที่เขาประพันธ์ขึ้นเอง เขาได้ทำงานกับอ็องรี เมลัก และลุดวิก อาเลวี นักประพันธ์ละครสั้น ผลงานของเขาได้แสดงถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชนในสมัยจักรวรรดิที่สองของฝรั่งเศส ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน จนแทบจะมีแต่เรื่องไร้ศีลธรรมและออกแนวอื้อฉาว (การขอโทษต่อฉากรักสามเส้าในเรื่อง ลาแบเลแลน และฉากการนอกใจในเรื่อง ออร์เฟโอซองแฟร์)
ผลงานชิ้นสำคัญ
โอเปร่าและโอเปอเรตตา
1.Les deux Aveugles (1855)
2.Le Nuit blanche (1855)
3.Ba-ta-clan (1855), (livret de Ludovic Halévy)
4.La Rose de Saint-Flour (1856)
5.Le Savetier et le Financier (1856)
6.Dragonette (1857)
7.Le Vent du Soir ou L'horrible Festin (1857)
8.Une Demoiselle en loterie (1857)
9.Le Mariage aux lanternes (1857)
10.Les deux Pêcheurs (1857)
11.Orphée aux Enfers (1858) (livret de Ludovic Halévy)
12.Les Vivandières de la Grande Armée (1859)
13.Geneviève de Brabant (1859)
14.Daphnis et Chloé (1860)
15.La Chanson de Fortunio (1861) (livret de Ludovic Halévy)
16.Le Pont des soupirs (1861) (livret de Ludovic Halévy)
17.Le Roman comique (1861) (livret de Ludovic Halévy)
18.Les Bavards (1862)
19.Lischen et Fritzchen (1863)
20.Le Brésilien (1863) (livret de Ludovic Halévy)
21.Jeanne qui pleure et Jean qui rit (1864)
22.L'amour chanteur (1864)
23.Die Rheinnixen (1864)
24.La Belle Hélène (1864) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
25.Les Bergers (1865)
26.Barbe-Bleue (1866) (livret de Ludovic Halévy)
27.La Vie Parisienne (1866)(livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
28.La permission de dix heures (1867)
29.La Grande Duchesse de Gerolstein (1867) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
30.Robinson Crusœ (1867)
31.L'Île de Tulipatan (1868)
32.La Périchole (1868) (livret de Ludovic Halévy et Henri Meilhac)
33.La Diva (1869) (livret de Ludovic Halévy)
34.La Princesse de Trébizonde (1869)
35.Les Brigands (1869) (livret de Ludovic Halévy)
36.Boule de Neige (1871)
37.Le Roi Carotte (1872)
38.Fantasio (1872)
39.Fleurette (1872)
40.Les Braconniers (1873)
41.Pomme d'Api (1873) (livret de Ludovic Halévy)
42.Bagatelle (1874)
43.Le Violoneux (1875)
44.La Boulangère a des écus (1875) (livret de Ludovic Halévy)
45.Madame l'Archiduc (1874)
46.La Créole (1875)
47.Le Voyage dans la lune (1875)
48.Tarte à la Crème (1875)
49.Pierrette et Jacquot (1876)
50.La boîte au lait (1876)
51.Le docteur Ox (1877)
53.La Foire Saint-Laurent (1877)
54.Madame Favart (1878)
55.La Marocaine (1879)
56.La fille du Tambour-Major (1879)
57.Les Contes d'Hoffmann (1881, op. posth.)


ดิมิทรี ชอสตาโกวิช
ดมิทรี ดมิทรีวิช ชอสตาโควิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich(เกิดวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1906 - เสียชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1975) เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย ในยุคสมัยสหภาพโซเวียตเรืองอำนาจ ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาส่วนใหญ่เป็นประเภทซิมโฟนี กับ สตริงควอร์เต็ต อย่างละ 15 บท หลังจากที่เขาเสียชีวิต ความเห็นของเขาที่มีต่อชีวิตในสหภาพโซเวียตได้กลายมาเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง และความขัดแย้งทางดนตรี บางทีชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในภาคภาษาเยอรมันว่า "Dmitri Schostakowitsch" อันเนื่องมาจากการที่เขาได้นำชุดตัวโน้ต DSCH (ซึ่งหมายถึง ตัว เร-มีแฟลต-โด-ที ในระบบตัวโน้ตของเยอรมัน และชื่อย่อของเขาในภาษาเยอรมัน) มาใช้เป็นเอกลักษณ์ทางดนตรีของตนเองชอสตาโควิชมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับรัฐบาลโซเวียต เขาถูกทางการประณามบทเพลงของเขาถึงสองครั้ง ในปี ค.ศ. 1936 และปี ค.ศ. 1948 และห้ามแสดงผลงานของชอสตาโควิชเป็นช่วง ๆ ผลงานของงานของเขา และในเวลาเดียวกัน เขาได้รับรางวัล accolades จำนวนมากมาย และรางวัลสถานะ และใช้สำหรับในสภานิติบัญญัติของโซเวียต ทั้ง ๆ ที่การโต้เถียงเป็นทางการ เขายังคงประพันธ์ผลงานของเขาที่ประเทศโซเวียตที่ได้รับความนิยมส่วนมากในการอ้างอิงมิติของเขาที่ต้องการหลังจากอิทธิพลเกี่ยวกับระยะเวลาโดยมี แซร์เจ โปรโคเฟียฟ และ อิกอร์ สตราวินสกี้ (ซิมโฟนี่หมายเลข 1) ชอสตาโควิชได้เปลี่ยนรูปแบบทางดนตรีสู่สมัยใหม่ (ซิมโฟนี่หมายเลข 2) ก่อนการพัฒนาลักษณะลูกผสมกับอุปรากรเรื่อง "Lady Macbeth " และซิมโฟนีหมายเลข 4 ลักษณะลูกผสมแบบดนตรีแนว Neo-Classic (คลาสสิคใหม่) กับอิทธิพลของสตราวินสกี้ เพื่อวางแนวเพลงเกี่ยวกับเรื่องความรัก (กับลักษณะแบบมาเลอร์ที่มีต่ออิทธิพล) ของเขา ที่รวมถึงใช้อย่างมากเพราะเพลงแนวคลาสสิคใหม่นี้ จะทำให้กลมกลืนได้เช่นนี้หรือ? อย่าง ฮินเดมิธ (Hindemith) และ โปรโคเฟียฟ (Prokofiev) เพลงของเขารวมถึงความตรงกันข้ามกับความอัจฉริยะ และการประสานเสียงที่แปลกแหวกแนวบ่อย ๆชอสตาโควิชมีความภูมิใจในการประพันธ์ผลงานทางดนตรีของเขา ลักษณะทางเทคนิคการประพันธ์ดนตรีของชอสตาโควิชล้ำแนวกว่าผลงานการประพันธ์ของกุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler) คีตกวีชาวออสเตรียน และริมสกี้-คอร์ซาคอฟ (Nicolai Rimsky-Korsakov) ซึ่งผลงานงานยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาที่ถูกคิดว่าโดยทั่วไปคือซิมโฟนี่ชิ้นใหญ่ ผลงานสตริงควอร์เต็ทบรรเลงโดย 4 คน ในแต่ละครั้ง และอื่นๆ รวมถึงอุปรากร คอนแชร์โต เพลงประกอบภาพยนตร์ ฯลฯ ความกดดันที่ขัดแย้งของความต้องการเป็นทางการ ที่ได้รับความทุกข์ของเพื่อน ๆ ของเขา และทางความคิดส่วนบุคคลของเขา จึงทำให้ชอสตาโควิชประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์ภาษาแห่งดนตรีของพลังมีอารมณ์ใหญ่ของเขาที่เกินความคาดหมาย

ประวัติ
ชอสตาโควิช เกิดที่บ้านเลขที่ 2 ถนนปาโดสกายา ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นบุตรคนที่ 2 ในพี่น้อง 3 คน ของ Dmitri Boleslavovich Shostakovich และ Sofiya Vasilievna Shostakovich ครอบครัวของเขาเป็นคนใจกว้าง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (สิ่งหนึ่งของลุงของเขา คือพวกสังคมนิยมที่เข้าปกครองรัสเซีย แต่ครอบครัวยังปกป้องเกี่ยวกับพวกหัวรุนแรงด้านขวาไกล) เมื่อชอสตาโควิชยังวัยเยาว์นั้น ได้เป็นที่กล่าวขวัญเขาว่าเป็นเด็กอัจฉริยะเพราะเขาเล่นเปียโนได้ดีมากเลยทีเดียว โดยเชื่อว่าอาจจะเป็นพรสวรรค์ของเขาอย่างเด่นชัด หลังจากที่เขาเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ 9 ขวบ และใน ค.ศ. 1918 ชอสตาโควิชได้แต่งเพลง Funeral March (เพลงเกี่ยวกับการแห่ศพ) โดยมีความทรงจำของสองผู้นำในงานสังสรรค์ Kadet Party โจรกรรมโดยกะลาสีเรือพวกสังคมนิยมที่เข้าปกครองรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1919 อย่างไรก็ตาม เขาได้รับความทุกข์สำหรับสังเกตของเขา ขาดแคลนความกระตือรือร้นเกินไปเกี่ยวกับการเมือง และล้มเหลวอย่างเริ่มต้นการสอบของเขาในมาร์คหลักการในปี ค.ศ. 1926 ความสำเร็จแห่งดนตรีหลักแรกของเขาคือ ซิมโฟนี่หมายเลข 1 เขียนเช่นเดียวกับชิ้นการสำเร็จเป็นบัณฑิตของเขาเมื่ออายุเพียง 20 ปีหลังจากการสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตแล้ว เขาเริ่มงานด้วยการเป็นนักเปียโนและประพันธ์เพลง แต่สไตล์แห้ง ๆ ของเขานั้น (เขาลงความเห็นการยับยั้งอารมณ์ของเขา และ"หมุดย้ำเป็นจังหวะ") บ่อย ๆ เขาแต่ทว่า ชอสตาโควิชได้ชนะเลิศการแข่งขันเปียโนน่าเคารพนับถือกล่าวถึงที่ เมื่อปี ค.ศ. 1927 ที่กรุงวอร์ซอว์ชื่อเมืองหลวงของประเทศโปแลนด์ในการแข่งขันเปียโนระหว่างประเทศ หลังจากการแข่งขันเปียโนแล้ว ชอสตาโกวิชได้พบกับวาทยกร บรูโน วาลเตอร์ (Bruno Walter) ซึ่งประทับใจซิมโฟนี่หมายเลข 1 อย่างมาก แต่ไม่รู้ว่า ผลงานนี้เป็นของใคร และใครเป็นผู้ประพันธ์ขึ้นมา? ที่ว่าเขาชักนำเมืองเบอร์ลินในเยอรมันแรกเริ่มปีนั้น ต่อจากนั้น ชอสตาโควิชที่สิ่งที่อัดแน่นบนการประกอบเป็นส่วนต่างๆทั้งหมด และการปฏิบัติข้อจำกัดอย่างสำคัญให้เหล่านั้นของงานด้วยตัวเองของเขาเอง ในปี ค.ศ. 1927 ชอสตาโควิชได้ประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 2 หรือ "October" ขณะที่ชอสตาโกวิชกำลังประพันธ์อยู่นั้น เขายังเริ่มประพันธ์ Satirical และอุปรากรของเขา อาศัยเรื่องราวของนิโคไล โกกอลในปี ค.ศ. 1927 ยังทำเครื่องหมายการเริ่มของความสัมพันธ์ของผู้แต่ง กับ Ivan Sollertinsky ซึ่งยังคงเพื่อนใกล้ชิดที่สุดของเขา จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1944 Sollertinsky ได้แนะนำชอสตาโควิชเล่นเพลงของกุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler) ซึ่งมีอิทธิพลในด้านเพลงของเขาจากซิมโฟนี่หมายเลข 4 ของเขาเอง ปี ค.ศ. 1932 ได้แต่งงานกับ Nina Varzar และต้องจบลงเพราะการใช้ชีวิตความลำบากเริ่มต้นทำให้การหย่าร้างกันไปในปี ค.ศ. 1935
ในปี 1930 ก่อนปี 1920 ชอสตาโควิชได้ทำงานที่รถราง โรงภาพยนตร์เยาวชนกรรมการ ถึงแม้ว่าเขาทำงานเล็กน้อยในไปรษณีย์นี้ก็จริง แต่มันป้องกันเขาเนื่องจากเกี่ยวกับความนึกคิดโจมตีกับการปฏิวัติสหภาพโซเวียตมาก ระยะเวลานี้ถูกใช้จนหมดกับการเขียนอุปรากรเรื่อง Lady Macbeth of the Mtsensk Distric ครั้งแรกที่ถูกปฏิบัติในปี 1934 และเสร็จสมบูรณ์ทันที และได้รับชื่อเสียงอย่างมากของนโยบายที่ถูกต้องของงานอันสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นั้นอุปรากร “ถูกเขียนเฉพาะโดยผู้แต่งประเทศโซเวียตที่แนะนำในธรรมเนียมที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมประเทศโซเวียต
ผลงาน
Childhood and Youth (1906-1924)
1.Opus 1-9
2.Opus 1: Scherzo F sharp minor for orchestra]] (1919)
3.Opus 2: Eight Preludes for piano]] (1919-1920)
4.Opus 2B: Minuet, Prelude and Intermezzo for piano (1919-1920)
5.Opus 2C: Murzilka for piano (1920)
6.Opus 2D: Five Preludes for piano (1920-1921)
7.Opus 2E: Orchestration of "I Waited in the Grotto" by Rimsky-Korsakov for soprano and orchestra (1921)
8.Opus 3: Theme and Variations B flat major for orchestra (1921-1922)
9.Opus 3B: Transcription of Theme and Variations B flat major for solo piano (1921-1922)
10.Opus 4: "Two Fables of Krilov" for mezzo-soprano, female chorus and chamber-orchestra (1922)
11.Opus 4B: Transcription of "Two Fables of Krilov" for mezzo-soprano and piano (1922)
12.Opus 5: "Three Fantastic Dances" for piano (1922)
13.Opus 6: Suite F sharp minor for two pianos (1922)
14.Opus 7: Scherzo E flat major for orchestra (1923-1924)
15.Opus 7B: Transcription of Scherzo E flat major for solo piano (1923-1924)
16.Opus 8: Trio for violin, cello and piano No. 1 (1923)
17.Opus 9: Three pieces for cello and piano (1923-1924)

เบลา บาร์ต็อก

เบลา บาร์ต็อก เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) ที่เมือง นากีซเซนต์มิคลอส ฮังการี (ในปัจจุบันคือเมือง ซานนิโคเลา มาเร ประเทศโรมาเนีย) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ที่นครนิวยอร์ก) เป็นทั้งคีตกวี นักเปียโน และนักสะสมดนตรีพื้นบ้านในแถบยุโรปตะวันออก เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้จัดตั้งสาขาวิชาดนตรีพื้นเมืองศึกษา (ethnomusicology)
ประวัติ
มารดาของบาร์ต็อกได้สอนดนตรีให้แก่เขาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งเขาได้เปิดตัวในฐานะนักเปียโนตั้งแต่อายุเพียงสิบปี ที่สถาบันดนตรีหลวงแห่งบูดาเปสต์ เขาได้พบกับ โซลทาน โคดาลี และต่อมา ทั้งคู่ร่วมกันรวบรวมและสะสมดนตรีพื้นบ้านในท้องถิ่น ก่อนหน้านั้นดนตรีพื้นบ้านฮังการีในทัศนะของบาร์ต็อกมีพื้นฐานมาจากทำนองเพลงของพวกยิปซี ที่คีตกวีเอก ฟร้านซ์ ลิซท์ นำมาเรียบเรียงใหม่ และในปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) เขาได้ประพันธ์ผลงานชิ้นสำคัญสำหรับวงออเคสตร้า ที่มีชื่อว่า Kossuth ในขณะที่พำนักอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ถึงปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) เขาได้เรียนเปียโน ที่วิทยาลัยดนตรีหลวงแห่งบูดาเปสต์ ในปี พ.ศ. 2450 เขาได้ประพันธ์บทเพลงพื้นบ้านฮังการี 3 เพลง และในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) เขาได้ประพันธ์บทเพลงสำหรับวงควอเต็ตเครื่องสายบทแรกในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) เขาได้นำเสนอผลงานประพันธ์โอเปร่าเรื่องเดียวของเขา นั่นก็คือ ปราสาทของนายหนวดน้ำเงิน รัฐบาลฮังการีได้ขอให้เขายกเลิกการใช้นามแฝง Béla Balázs ในการประพันธ์โอเปร่า
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้แต่งเพลงประกอบบัลเล่ต์เรื่อง เจ้าชายแห่งไพรสนฑ์ และ แมนดารินวิเศษ ตามด้วยโซนาต้าอีกสองบทสำหรับบรรเลงด้วยเปียโนและไวโอลิน ที่ได้กลายเป็นหนึ่งในผลงานที่มีความสลับซับซ้อนที่สุดของเขา เขาได้ประพันธ์ควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 3 ควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 4 และ ควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบทเพลงควอเต็ตสำหรับเครื่องสายที่ดีที่สุดเท่าที่มีการแต่งมา ในปี พ.ศ. 2470 - 2471 ซึ่งทำให้ภาษาทางการประสานเสียงของเขาเรียบง่ายลงเป็นต้นมา ควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 5 (พ.ศ. 2477) กลับมีรูปแบบที่ยึดกับขนบประเพณีเดิมมากขึ้น จากนั้นบาร์ต็อกก็ได้ประพันธ์ ควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 6 และควอเต็ตสำหรับเครื่องสาย บทสุดท้าย อันเพลงบทเพลงที่เศร้าสร้อย และโอดครวญ ในปีพ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่จบลงด้วยการสูญเสียมารดาสุดที่รักของเขา บทเพลงเหล่านั้นกลายเป็นชุดสุดท้ายที่เขาประพันธ์ขึ้นในยุโรป ในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เดินทางอย่างหมดอาลัยตายอยากไปยังสหรัฐอเมริกา เขารู้สึกไม่ค่อยดี จึงเป็นช่วงที่เขาไม่ได้ประพันธ์เพลง
ต่อมา นายแซร์จ คูสเซอวิทสกี ได้ว่าจ้างให้เขาแต่งเพลงคอนแชร์โต้สำหรับวงโอเคสตรา ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำให้ความกระตือรือร้นในแการแต่งเพลงของบาร์ต็อกหวนกลับมา เขาเริ่มประพันธ์ คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน หมายเลข 3 ซึ่งเป็นบทเพลงที่เรียบง่ายและออกแนวนีโอคลาสสิก และเขาก็ได้เริ่มแต่งคอนแชร์โต้สำหรับอัลโต้ตามมาอีก
บาร์ต็อกเสียชีวิตด้วยโรคลูคีเมีย ผู้ที่ประพันธ์คอนแชร์โต้สำหรับอัลโตต่อจนจบ ได้แก่ลูกศิษย์ของเขา ทิบอร์ เซอร์ลี
ผลงานทางดนตรีชิ้นสำคัญ
เปียโน
1.อัลเลโกร บาร์บาโร สำหรับเปียโน
2.สวีท โอปุสที่ 14 สำหรับเปียโน
3.โซนาต้าสำหรับเปียโน
4.สวีท กลางที่โล่ง สำหรับเปียโน
5.มิโครคอสมอส สำหรับเปียโน
6.แชมเบอร์มิวสิค
7.โซนาต้า สำหรับเดี่ยวไวโอลิน
8.โซนาต้าสองบท และ ราปโซดีสองบท สำหรับไวโอลิน และ เปียโน
9.คอมทราสต์ สำหรับคลาริเน็ท ไวโอลิน และ เปียโน
10.โซนาต้าสำหรับเปียโนสองตัว และเครื่องเคาะ
11.ควอเต็ตเครื่องสาย หกเพลง
บทเพลงสำหรับวงออเคสตร้า

1.คอนแชร์โต้ สำหรับ เปียโน สามบท
2.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน หมายเลข 2
3.คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน สองบท
4.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน หมายเลข 3
5.คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลินอัลโต้
6.ดนตรีสำหรับเครื่องสาย เครื่องเคาะ และ เซเลสต้า
7.คอนแชร์โต้สำหรับวงออเคสตร้า
อื่นๆ
1.โอเปร่าเรื่อง ปราสาทของนายหนวดน้ำเงิน
2.บัลเล่ต์เรื่อง แมนดารินวิเศษ
3.บัลเล่ต์เรื่อง เจ้าชายแห่งไพรสนฑ์
4.แคนเต็ต คานตาตา โพรฟานา


ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี

ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (รัสเซีย Piotr Ilitch Tchaïkovski หรือ Petr Tchaïkovsky - เป็นคีตกวีชาวรัสเซีย เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ที่เมือง โวทคินสกี้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ประวัติ
ไชคอฟสกีเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกิน ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความหรูหราและการอดมื้อกินมื้อ ข่าวอื้อฉาว และความต้องการเป็นที่ยอมรับ เขาได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยดนตรีแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ภายใต้การดูแลของแอนตอน รูเบนสไตน์ จากนั้นก็ถูกเรียกตัวให้ไปเป็นครูสอนวิชาเรียบเรียงเสียงประสานให้แก่น้องชายของรูเบนสไตน์ที่กรุงมอสโก ที่มอสโกนี่เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานชิ้นสำคัญหลายชิ้น เป็นต้นว่าซิมโฟนี หมายเลขหนึ่ง หรือชื่อ ความฝันในเหมันตฤดู เขาได้สมรสในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขข้อขัดแย้งภายในตนเองว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ แต่ความล้มเหลวของชีวิตแต่งงาน ที่เป็นที่โจษจันว่าอยู่กันอย่างไร้ความรักกับเจ้าสาวที่เป็นศิษย์ของเขาเอง ทำให้เขาเกือบฆ่าตัวตายสำเร็จ อารมณ์ของเขามั่นคงขึ้นในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) เมื่อเขาได้ออกเดินทางไปทั่วทวีปยุโรป ประเทศอิตาลีได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ผลงานหลายชิ้น รวมทั้งบทเพลงชื่อ ชาวอิตาเลี่ยนผู้เอาแต่ใจตนเอง (capriccio italien) เขาประสบความสำเร็จหลายครั้งและได้พบปะกับคีตกวีเลื่องชื่อร่วมสมัย เป็นต้นว่า โยฮันเนส บราห์ม แอนโทนิน โวรัก ฯลฯ เขาเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดการแสดง ปีเตอร์ ไชคอฟสกีเสียชีวิตในปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ด้วยโรคอหิวาตกโรค เพลงของเขาเป็นสะพานเชื่อมระหว่างดนตรีตะวันตกกับดนตรีรัสเซีย ด้วยการนำเสนอแบบร่วมสมัย ซึ่งรวมถึงคีตกวีโมเดสต์ มูสซอร์กสกี้ และ กลุ่มคีตกวีทั้งห้า ซึ่งเขาได้สร้างมิตรภาพกับพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้วย

ผลงาน
บัลเล่ต์
1.ทะเลสาบหงส์ขาว โอปุสที่ 20 (พ.ศ. 2418 - 2419)
2.เจ้าหญิงนิทรา โอปุสที่ 66 (พ.ศ. 2431 - 32)
3.เดอะ นัท แคร้กเกอร์ โอปุสที่ 71 (พ.ศ. 2434 - 35)
4.ซิมโฟนี
5.ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง จีไมเนอร์ (ความฝันในเหมันตฤดู) โอปุสที่ 13 พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)
6.ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ (ชาวรัสเซียน้อย) โอปุสที่ 17 พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872)
7.ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์ (บทเพลงโปแลนด์) โอปุสที่ 29 1875 (ค.ศ. 1875)
8.ซิมโฟนีหมายเลข 4 ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ โอปุสที่ 36 พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877)
9.แมนเฟรด โอปุสที่ 58 (1885)
10.ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง อีไมเนอร์ โอปุสที่ 64 พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888)
11.ซิมโฟนีหมายเลข 6 ในบันไดเสียง บีไมเนอร์ (พาเธติก) โอปุสที่ 74 พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)
เพลงโหมโรง
1.พายุ โอปุสที่ 76 พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864)
2.เพลงโหมโรง ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์ (พ.ศ. 2408 แก้ไขเมื่อปี พ.ศ. 2409)
3.เพลงโหมโรง ถอดทำนองจากเพลงชาติเดนมาร์ก โอปุสที่ 15 (ค.ศ. 1866 แก้ไขเมื่อปีค.ศ. 1892)
4.ฟาตัม โอปุสที่ 77 (ค.ศ. 1868)
5.โรมิโอ กับจูเลียต (ค.ศ. 1869 แก้ไขเมื่อปี ค.ศ. 1870, 1880)
6.พายุ โอปุสที่ 18 (ค.ศ. 1873)
7.เพลงมาร์ชของชาวสลาฟ โอปุสที่ 31 (ค.ศ. 1876)
8.ฟรานเซสก้า ดา ริมินี โอปุสที่ 32 (ค.ศ. 1876)
9.ชาวอิตาเลี่ยนผู้เอาแต่ใจตนเอง โอปุสที่ 45 (ค.ศ. 1880)
10.เซเรนาดสำหรับเครื่องสาย โอปุสที่ 48 (ค.ศ. 1880)
11.ปีค.ศ. 1812, โอปุสที่ 49 (ค.ศ. 1880)
12.แฮมเล็ต โอปุสที่ 67 (ค.ศ. 1888)
13.ลา โวยโวเดอ โอปุสที่ 78 (ค.ศ. 1890 – 91)
คอนแชร์โต้
1.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนหมายเลข 1 ในบันไดเสียงบีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 23 (ค.ศ. 1874 - 75 แก้ไขเมื่อปี ค.ศ. 1879 และ 1889)
2.เซเรนาดแห่งความเศร้า โอปุสที่ 26 (ค.ศ. 1875)
3.วาริอาซิยงกับบทเพลงรอคโคโค โอปุสที่ 33 (ค.ศ. 1876)
4.วาลซ์-แซโร โอปุสที่ 34 (ค.ศ. 1877)
5.คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน ในบันไดเสียงเร เมเจอร์ โอปุสที่ 35 (ค.ศ. 1878)
6.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนหมายเลข 2 ในบันไดเสียง จีเมเจอร์ โอปุสที่ 44 (ค.ศ. 1879-80)
7.คอนแซร์ ฟงเตซี โอปุสที่ 56 (ค.ศ. 1884)
8.Pezzo Capriccioso โอปุสที่ 62 (ค.ศ. 1887)
9.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนหมายเลข 3 ในบันไดเสียง อีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 75 (ค.ศ. 1893)
10.อานดันเต้ กับ ฟินาเล่ โอปุสที่ 79 (ค.ศ. 1893)
แชมเบอร์มิวสิก
1.บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต ในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอ (ค.ศ. 1865)
2.บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 1 ในบันไดเสียง เรเมเจอร์ โอปุสที่ 11 (ค.ศ. 1871)
3.บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 2 ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์ โอปุสที่ 22 (ค.ศ. 1873 - 74)
4.บทเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ต n° 3 ในบันไดเสียง อีแฟลตไมเนอร์ โอปุสที่ 30 (ค.ศ. 1876)
5.ความทรงจำจากสถานที่สุดรัก, โอปุสที่ 42 (ค.ศ. 1878)
6.ทริโอสำหรับเปียโน ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ โอปุสที่ 50 (ค.ศ. 1881 - 82)
7.ความทรงจำจากเมืองฟลอเร้นซ์ โอปุสที่ 70 (ค.ศ. 1890)
บทเพลงสำหรับเปียโน
1.ไชคอฟสกี้ได้ประพันธ์บทเพลงสำหรับเปียโนไว้จำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ ฤดูกาล
โอเปร่า
1.จากโอเปร่าทั้งสิบเรื่องที่ไชคอฟสกี้ได้ประพันธ์ไว้นั้น มี
2.เยฟเกนี โอเนกิน (Евгений Онегин) (ค.ศ. 1878)
3.เด็กน้อยแห่งเมืองออร์เลอง (ค.ศ. 1878 - 79)
4.มาเซ็ปป้า (ค.ศ. 1881 - 83)
5.อิโอลันตา โอปุสที่ 69 (ค.ศ. 1891)
6.ควีนดอกจิก โอปุสที่ 90 (ค.ศ. 1892)


ฟรานซ์ ชูเบิร์ต

ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert) (31 มกราคม พ.ศ. 2340 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2371) คีตกวีชาวออสเตรีย
ประวัติ
ฟรานซ์-ปีเตอร์ เกิดที่เมืองลิคเทนธาล (Lichtenthal) ใกล้กับกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อปี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) บิดาของเขา ฟรานซ์-เธโอดอร์ เป็นครูโรงเรียนมัธยม ได้สอนให้เขาเล่นไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก ในขณะที่อิกนาซ (Ignaz) พี่ชายได้สอนเปียโนให้แก่เขา ระหว่างปี พ.ศ. 2351 ถึง พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1808 - 1813) เขาได้เป็นนักร้องในวงประสานเสียงประจำวิหารหลวงแห่งกรุงเวียนนา และได้เข้าเรียนที่โรงเรียน Konvitk (โรงเรียนฝึกหัดนักร้องเพื่อวิหารและราชสำนัก) เขาจึงได้เป็นศิษย์ของ อันโตนิโอ ซาลิเอรี (Antonio Salieri) ผู้อำนวยการวงดนตรีประจำราชสำนักระหว่างช่วงเวลาที่เขาเข้ารับการศึกษาที่นี่ เขาได้เริ่มประพันธ์เพลง โดยเริ่มจากบทเพลงสำหรับเปียโนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) ต่อมาก็แต่งเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ตที่ใช้เครื่องสายอย่างน้อยแปดชิ้น รวมถึงเพลงโหมโรง รวมทั้งบทเพลงประเภทอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เขาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากโมซาร์ท ในการประพันธ์ซิมโฟนี สองปีต่อมาจึงได้ประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก, เพลงสวดบทแรก และผลงานชิ้นเอกของเขาที่เป็นเพลงร้อง (Lied) ชื่อเพลง Marguerite au rouet จาก Gretchen am Spinnrade
ไม่กี่ปีต่อมาที่ประเทศฮังการี เขาได้กลายเป็นพ่อทูลหัวให้กับบุตรของเค้าท์แห่งเมืองเอสเตอร์ฮาซี ได้พบรักที่ไม่สมหวัง และได้กลับมาใช้ชีวิตที่กรุงเวียนนาอีกครั้ง ทั้งชีวิตของเขาได้อุทิศให้กับดนตรี, การแต่งเพลง และการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง (กลุ่มสหายของชูเบิร์ต) ในร้านทำขนมที่กรุงเวียนนา ในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) ชูเบิร์ตป่วยด้วยโรคซิฟิลิส บางคนเชื่อว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ สุขภาพของเขาทรุดโทรมลงเป็นอันมาก แต่เขาก็สามารถประพันธ์บทเพลงอันไพเราะออกมาได้จากการเฉียดตายและความทรมานจากความตาย (การเดินทางในฤดูหนาว ควอร์เต็ตหมายเลข 14 ชื่อ หญิงสาวกับความตาย) ชูเบิร์ตเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) เพื่อตอบสนองคำขอร้องสุดท้ายขอเขา ชูเบิร์ตได้ถูกฝังใกล้กับหลุมฝังศพของลุดวิจ ฟาน เบโธเฟน ผู้ที่ชูเบิร์ตทั้งรู้สึกดึงดูด และรังเกียจมาตลอดชีวิต
ผลงานสำหรับเปียโน
Huit impromptus
Les six moments musicaux
21 Sonates pour piano, dont
21ème sonate en Si bémol majeur D960
20ème sonate en La majeur D959
19ème sonate en Ut mineur D958
18ème sonate en Sol majeur (Fantaisie) D 894
17ème sonate en en Ré majeur D850
16ème sonate en La mineur D845
15ème sonate en Ut majeur D894
14ème sonate en La mineur D784
13ème sonate en La majeur D664
11ème sonate en Fa mineur D625
9ème sonate en Si bémol majeur D575
8ème sonate en Mi bémol majeur D 568
6ème sonate en Mi majeur D566
5ème sonate en Mi bémol majeur D557
4ème sonate en La mineur D537
1ère sonate en Mi majeur D157
Fantaisie à 4 mains en fa mineur D940
แชมเบอร์มิวสิก
Sonate «Arpeggione»
Quintette pour piano et cordes « La truite »
Quintette pour deux violons, alto et violoncelle
Quartettsatz
13e quatuor «Rosamunde»
14e quatuor « La jeune fille et la mort »
15e quatuor en sol majeur
Trio avec piano n° 1 en si bémol majeur, opus 99 (D 898)
Trio avec piano n° 2 en mi bémol majeur, opus 100 (D 929)
ดนตรีขับร้อง
1.Cycle La belle meunière (Die Schöne Müllerin) D. 795
2.Cycle Voyage d'hiver (Winterreise) D. 911
3.Cycle Chant du cygne (Schwanengesang) D. 957
4.Le pâtre sur le rocher
5.Le Roi des aulnes
6.Marguerite au rouet



เฟรเดริก โชแปง

เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง (โปแลนด์ Fryderyk Franciszek Chopin, บางครั้งสะกดว่า Szopen; ฝรั่งเศส: Frédéric François Chopin) เป็นคีตกวีชาวโปแลนด์เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) จากวัณโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ชื่อที่บิดามารดาของเขาตั้งให้คือ Fryderyk Franciszek Chopin ต่อมาได้หันมาใช้ชื่อแบบฝรั่งเศสเมื่อเขาได้ตัดสินใจจากประเทศบ้านเกิดเป็นการถาวรเพื่อมุ่งหน้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ประวัติ
โชแปงเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2353 (ตามบันทึกของสังฆมณฑลบอกว่าเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์) ที่เมือง เซลาโซวา โวลาซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศโปแลนด์ บิดาของโชแปงเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด พื้นเพมาจากเมืองมารังวิลล์-ซูร์-มาดง (Marainville-sur-Madon) ในแคว้นลอแรนน์ มารดาเป็นชาวโปแลนด์ โชแปงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุหกขวบ (พ.ศ. 2359) และแต่งเพลงแรกเมื่ออายุเพียงเจ็ดขวบ (พ.ศ. 2360) และเปิดการแสดงต่อสาธารณะชนครั้งแรกเมื่ออายุแปดขวบ (ค.ศ. 1818) ครูสอนดนตรีคนแรกของโชแปงได้แก่ โวซีเอค ซีนี(Wojciech Żywny) และหลังจากปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนดนตรีแห่งกรุงวอซอ ซึ่งเขาได้รับการถ่ายทอดวิชาดนตรีจากโจเซฟ เอลส์เนอร์ (Joseph Elsner) เป็นหลัก

ในปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) เขาได้จากโปแลนด์ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีส หรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนได้เป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "บัลลาด หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงมูฟเมนท์ที่สองของคอนแชร์โต้หมายเลขหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838) ถึง 2390 (ค.ศ. 1847) เขาได้กลายเป็นชู้รักของจอร์จเจอ ซ็องด์(George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของโชแปงทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะมายอร์ก้า ประเทศสเปน ในช่วงที่โชแปงใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่พรีลูด โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของโชแปง ที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและจอร์จเจอ ซ็องด์ต้องตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตของโชแปงเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี

โชแปงสนิทกับฟรานซ์ ลิซท์ (Franz Liszt) วินเซนโซ เบลลินี (Vincenzo Bellini - ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่สุสานแปร์ ลาแชสในกรุงปารีส) และยูจีน เดอลาครัวซ์ เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวีเฮกเตอร์ แบร์ลิออซ (Hector Berlioz) และโรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) และแม้ว่าโชแปงจะได้มอบบทเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจกับบทเพลงที่ทั้งสองแต่ขึ้นสักเท่าไหร่นัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวดเรควีเอ็มของโมซาร์ทในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ ลา มัดเดอเล็น(La Madeleine)ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตให้ใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของโชแปงก็เป็นจริงขึ้นมา ผลงานทุกชิ้นของโชแปงเป็นผลงานชิ้นเอก รวมถึงเพลงบรรเลงสำหรับเปียโน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการเดี่ยวเปียโน งานประพันธ์ประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียงคอนแชร์โต้สองบท โปโลเนส(polonaise)หนึ่งบท รอนโด้(rondo)หนึ่งบท และวาริอาซิยง(variation)อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวงออเคสตร้า เพลงเชมเบอร์มิวสิคมีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขาได้นำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับออกุสต์ ฟร็องชอมม์ (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิคของโชแปงได้ใช้เชลโล่บรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
บทเพลงสำหรับบรรเลงเปียโน เรียงลำดับตามหมายเลขของโอปุส
Opus
1 รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1825)
2 วาริอาซิยง สำหรับเปียโนและวงออเคสตร้า จาก „Lá ci darem la mano“ ของโมซาร์ท (Mozart) ในบันไดเสียง H (1827/8)
3 อังโทรดุกซิยง และโปโลเนส สำหรับเชลโล่ และเปียโน ในบันไดเสียง c (1829)
4 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 ในบันไดเสียง c (1828)
5 รอนโด้ อา ลา มาซูร์ ในบันไดเสียง f (1826/7)
6 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง fis, cis, E, es(1830/2)
7 มาซูร์ก้าห้าบท ในบันไดเสียง B, a, f, As, C (1830/2)
8 ทริโอ้ สำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล่ ในบันไดเสียง g (1829)
9 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง b, Es, H (1830/2)
10 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่สหายฟร้านซ์ ลิซ)ในบันไดเสียง C, a, E, cis, Ges, es, C, F, f, As, Es, c (1830/2)
11 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 1 ในบันไดเสียง e (1830)
12 อังโทรดุกซิยง และวาริอาซิยง บริลย็องต์ จาก „Je vends des scapulaires“ ของ „Ludovic“ d’Hérold ในบันไดเสียง B (1833)
13 ฟ็องเตซีสำหรับเปียโนและออเคสตร้า จากทำนองเพลงของโปแลนด์ ในบันไดเสียง A (1829)
14 รอนโด้ของชาวคราโควี สำหรับเปียโนและออเคสตร้า ในบันไดเสียง F (1831/3)
15 น็อคเทิร์น สามบทในบันไดเสียง F, Fis, g (1831/3)
16 อังโทรดุกซิยง และ รอนโด้ ในบันไดเสียง c (1829)
17 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง B, e, As, a (1831/3)
18 กร็องด์ วาลซ์ บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1833)
19 โบเลอโรในบันไดเสียง C (etwa 1833)
20 แชโซหมายเลข 1 ในบันไดเสียง h (1831/4)
21 คอนแชร์โต้ สำหรับเปียโนและออเคสตร้าหมายเลข 2 ในบันไดเสียง f (1829/30)
22 อานดันเต้ สปิอานาโต้ และ กร็องด์ โปโลเนส บริลย็องต์ ในบันไดเสียง Es (1830/6)
23 บัลลาด หมายเลข 1 ในบันไดเสียง g (1835)
24 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง g, C, As, b (1833/6)
25 เอตู๊ดสิบสองบท(อุทิศให้แก่มาดามก็องเตส โดกุลต์)ในบันไดเสียง As, f, F, a, e, gis, cis, Des, Ges, h, a, c (1833/7)
26 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง cis, es (1831/6)
27 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง cis, Des (1833/6)
28 พรีลูด 24 บทในทุกบันไดเสียง (1838/9)
29 อิมพร็อมตู หมายเลข 1 ในบันไดเสียง As (etwa 1837)
30 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง c, h, Des, cis (1836/7)
31 แชโซหมายเลข 2 ในบันไดเสียง b (1835/7)
32 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, As (1835/7)
33 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง gis, D, C, h (1836/8)
34 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง As, a, F (1831/8)
35 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 2 ในบันไดเสียง b-moll (1839)
36 อิมพร็อมตู หมายเลข 2 ในบันไดเสียง Fis (1839)
37 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง g, G (1837/9)
38 บัลลาด หมายเลข 2 ในบันไดเสียง F (1839)
39 แชโซหมายเลข 3 ในบันไดเสียง cis (1839)
40 โปโลเนส สองบท ในบันไดเสียง A (เรียกอีกชื่อว่า„Militaire“)และบันไดเสียง c (1838/9)
41 มาซูร์ก้าสี่บท ในบันไดเสียง cis, e, H, As (1838/9)
42 กร็องด์ วาลซ์ ในบันไดเสียง As (1839/40)
43 ทาแรนเทลลาในบันไดเสียง as (1841)
44 โปโลเนส ในบันไดเสียง fis (1841)
45 พรีลูด (1838/39)
46 อัลเลโกร ของคอนแชร์โต้ (1832/41)
47 บัลลาด หมายเลข 3 ในบันไดเสียง As (1841)
48 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง c, fis (1841)
49 ฟ็องเตซีในบันไดเสียง f (1841)
50 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง G, As, cis (1841/2)
51 อิมพร็อมตู หมายเลข 3 ในบันไดเสียง Ges (1842)
52 บัลลาด หมายเลข 4 ในบันไดเสียง f (1842)
53 โปโลเนส ในบันไดเสียง As เรียกอีกชื่อว่า(„Héroïque“) (1842)
54 แชโซหมายเลข 4 ในบันไดเสียง E (1842)
55 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง f, Es (1843)
56 มาซูร์ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, C, c (1843)
57 แบร์เซิร์ส (เพลงกล่อมเด็ก) ในบันไดเสียง Des (1844)
58 โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง h (1844)
59 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง a, As, fis (1845)
60 บาคาโรเล่ ในบันไดเสียง fis (1846)
61 โปโลเนส ฟ็องเตซี ในบันไดเสียง As (1846)
62 น็อคเทิร์น สองบท ในบันไดเสียง H, E (1845/6)
63 มาซูร็ก้าสามบท ในบันไดเสียง H, f, cis (1846)
64 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Des เรียกอีกชื่อว่า(„Valse minute“), cis, As (1840/7)
65 โซนาต้า สำหรับ เชลโล่ และเปียโนในบันไดเสียง g (1846/7)
บทประพันธ์ที่ได้รับการเผยแพร่หลังจากการเสียชีวิต
66 ฟ็องเตซี อิมพร็อมตู หมายเลข 4, cis (vers 1843)
67 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง G, g, C, a (1830/49)
68 มาซูร็ก้าสี่บท ในบันไดเสียง C, a, F, f (1830/49)
69 วาลซ์ สองบท ในบันไดเสียง As, h (1829/35)
70 วาลซ์ สามบท ในบันไดเสียง Ges, As, Des (1829/41)
71 โปโลเนส สามบท ในบันไดเสียง d, B, f (1824/28)

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่หนึ่ง

โยฮันน์ สเตราส์ ที่หนึ่ง (เยอรมัน Johann Strauß - หรือที่รู้จักกันในนามของ โยฮันน์ สเตราส์ ซีเนียร์ เกิดเมื่อวันที่14 มีนาคม พ.ศ. 2347 เสียชีวิตเมื่อวันที่25 กันยายน พ.ศ. 2392) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักได้แก่เพลงวอลซ์ และเพื่อทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น โยเซฟ แลนเนอร์ จึงได้ (โดยไม่ตั้งใจ) จัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อให้บุตรชายของเขาสืบสานอาณาจักรดนตรีต่อไป อย่างไรก็ดี บทเพลงของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ราเด็ตสกี้มาร์ช (ตั้งชื่อตามโยเซฟ ราเด็ตสกี้ ฟอน ราเด็ตส์) ในขณะที่เพลงวอลซ์ที่เลื่องชื่อที่สุดของเขาได้แก่ Lorelei Rhine Klänge โอปุส 154
ชีวิตและงาน

โยฮันน์ สเตราส์ ที่หนึ่ง เป็นบิดาของโยฮันน์ สเตราส์ ที่สอง โยเซฟ สเตราส์ และ เอด๊วด สเตราส์ เขายังมีบุตรสาวอีกสองคน ได้แก่ แอนนา ที่เกิดในปีพ.ศ. 2372 (ค.ศ. 1829) และ เทเรซ ที่เกิดในปีพ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) รวมถึงบุตรชายคนที่สาม เฟอร์ดินาน ที่เกิดในปีพ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) และมีชีวิตอยู่ดูโลกได้เพียงแค่สิบเดือน
บิดามารดาของสเตราส์เป็นผู้ดูแลกระท่อม และแม้ว่าเหตุร้ายจะมาเยือนครอบครัวของเขา เมื่อมารดาเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดเมื่อเขาอายุได้เพียงเจ็ดขวบ เมื่อเขามีอายุได้สิบสองปี บิดาของเขาชื่อฟร้านซ์ บอร์เกียส ก็ได้เสียชีวิตอีกคนจากการจมน้ำในแม่น้ำดานูบ แม่บุญธรรมของเขาได้จัดการให้เขาได้ไปฝึกหัดงานเย็บเล่มหนังสือกับโยฮันน์ ลิชต์ไชเดิ้ล แต่เขากลับหาเวลาว่างไปหัดไวโอลินกับวิโอล่า และสามารถหางานในวงออเคสตร้าท้องถิ่นของคนชื่อไมเคิล พาร์เมอร์ จากนั้นเขาก็ออกจากวงเพื่อไปร่วมวงสตริงควอร์เต็ตที่เป็นที่นิยม ชื่อว่าวง แลนเนอร์ ควอร์เต็ต ตั้งขึ้นโดยโยเซฟ แลนเนอร์คู่แข่งในอนาคตของเขา และสองพี่น้องตระกูลดราเก้นเฮก ชื่อคาร์ลกับโยฮันน์ วงสตริงควอร์เต็ตนี้เล่นเพลงวอลซ์แบบเวียนนา และเพลงคันทรี่แดนซ์ (Kontretanz)แบบเยอรมัน และได้ขยับขยายไปเป็นวงเครื่องสายในปี พ.ศ. 2367 ในขณะที่มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมวง เขาไม่เคยทิ้งงานฝึกหัดเป็นช่างเย็บเล่มหนังสือ เขายังได้เรียนดนตรีกับโยฮันน์ โปลิชานสกี้ (Johann Polischansky) ในช่วงฝีกหัดงานอีกด้วย
ต่อมาเขาได้เลื่อนขั้นเป็นผู้แทนวาทยากรในวงดุริยางค์ที่เขาเล่นอยู่ และในปี พ.ศ. 2368 ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีของตนเองขึ้นและเริ่มประพันธ์เพลงสำหรับเล่นเองในวง เขาได้กลายเป็นนักประพันธ์เพลงเต้นรำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและเป็นที่รักของผู้ฟังมากที่สุดคนหนึ่งในเวียนนา และได้นำวงของเขาออกเดินสายเปิดการแสดงในเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อังกฤษ และ สก็อตแลนด์ ในขณะเดินทางต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส เขาได้ยินเพลงควอดริลและเริ่มแต่งขึ้นมาเองบ้าง และเป็นผู้ที่ทำให้เพลงประเภทนี้เป็นที่รู้จักในออสเตรีย
สเตราส์ได้เข้าพิธีสมรสกับมาเรีย แอนนา สไตรม์ในปีพ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) ที่โบสต์แห่งหนึ่งในเมืองไลช์เทนธัล ชานกรุงเวียนนา ชีวิตสมรสของเขาไม่ค่อยจะราบรื่น และการออกตระเวนเปิดการแสดงในต่างประเทศบ่อยทำให้เขาห่างเหินจากครอบครัวขึ้นทุกที และทำให้เขารู้สึกเป็นคนแปลกหน้าขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาเขาก็ได้มีภรรยาน้อยชื่อ เอมิล แทรมบุช ในปีพ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) ที่เขามีบุตรด้วยถึงแปดคนด้วยกัน เหตุผลส่วนตัวของสเตราส์อาจเป็นสาเหตุให้โยฮันน์ สเตราส์ ที่สอง ได้พัฒนาเป็นนักประพันธ์เนื่องจากโยฮันน์ บิดาได้ห้ามมิให้บุตรชายเรียนดนตรีเมื่อไรก็ตาม ด้วยการประกาศยอมรับบุตรสาวที่เกิดจากเอมิลอย่างเปิดเผย มาเรีย แอนนาได้ฟ้องหย่าในปีพ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) และได้อนุญาตให้โยฮันน์ จูเนียร์ได้เรียนดนตรีอย่างจริงจัง โยฮันน์ บิดา เป็นผู้ที่ยึดกฏระเบียบเคร่งครัด และบังคับให้บุตรของตนประกอบอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี ความคิดส่วนตัวของสเตร้าส์ไม่ค่อยชัดเจนนักเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับคนในครอบครัว แต่เขาก็เข้าใจความลำบากที่นักดนตรีที่กำลังก่อร่างสร้างตัวต้องเผชิญเป็นอย่างดี
นอกเหนือจากปัญหาครอบครัวแล้ว เขายังได้ไปเปิดการแสดงในเกาะอังกฤษบ่อยครั้ง และเตรียมที่จะเขียนบทเพลงให้กับองค์กรการกุศลที่นั่น เพลงวอลซ์ของเขาพัฒนาจากระบำชาวนาในจังหวะสาม/สี่ เป็นสี่/สี่ และมีท่อนนำ และไม่ค่อยมีการอ้างถึงโครงสร้างเพลงวอลซ์แบบห้า/สองที่ตามมา และมักจะมีท่อนสร้อยสั้น ๆ อีกทั้งท่อนจบที่เร่งเร้า ในขณะที่โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ ผู้เป็นบุตร ได้ขยายโครงสร้างเพลงวอลซ์และใช้เครื่องดนตรีมากกว่าบิดา และแม้ว่าสเตราส์ ผู้เป็นบิดาจะไม่มีความสามารถทางดนตรีที่เก่งกาจเช่นบุตรชายของเขา หรือไม่มีหัวการค้าเท่าไหร่นัก เขาก็เ๋ป็นหนึ่งในนักประพันธ์เพลงเพี่ยงไม่กี่คน (รวมทั้งโยเซฟ แลนเนอร์ที่แต่งเพลงพร้อมตั้งชื่อแยกต่างหาก ทำให้ผู้คนจดจำได้ง่าย อีกทั้งยังเพิ่มยอดขายของโน้ตอีกด้วย
โยฮันน์ สเตราส์ บุตร มักจะเล่นเพลงที่บิดาเป็นคนแต่ง และยังบอกว่าชอบมันอย่างเปิดเผย ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันในสังคมชาวเวียนนาว่าบิดาเขามีคู่แข่งมากแค่ไหน อีกทั้งยังมีสื่อมวลชนช่วยโหมกระพือกระแส โดยส่วนตัวแล้ว โยฮันน์ สเตราส์ ที่หนึ่ง ปฏิเสธที่จะเปิดการแสดงอีกที่คาสิโนของนายดอมมาเยอร์ ที่เสนอให้บุตรชายของเขาเริ่มอาชีพวาทยากรและคอยช่วยเหลือให้ก้าวหน้าในอาชีพการงานตลอดชีวิต และในภายหลัง ชื่อเสียงของบุตรชายก็บดบังผู้เป็นบิดา ในแง่ของความนิยมในส่วนของดนตรีคลาสสิก
สเตราส์เสียชีวิตที่กรุงเวียนนา ในปี พ.ศ. 2392 จากโรคไข้แดง (scalett fever) ศพของเขาถูกฝังที่สุสานเมืองโดบลิง (Döbling) ข้างกับแลนเนอร์ เพื่อนของเขา และก่อนปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ศพของทั้งสองได้ถูกย้ายไปที่หลุมฝังศพแห่งเกียรติยศที่เมืองเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ สุสานเมืองโดบลิงได้กลายเป็นสวน สเตราส์-แลนเนอร์ในปัจจุบัน เอกเตอร์ แบร์ลิออซ ได้ยกย่อง'บิดาของเพลงวอลซ์เวียนนา' ด้วยคำกล่าวที่ว่า กรุงเวียนนาที่ปราศจากสเตราส์ ก็เหมือนออสเตรียที่ปราศจากแม่น้ำดานูบ
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค

โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นคีตกวีและนักออร์แกนชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) ในครอบครัวนักดนตรี ที่เมืองไอเซนนาค บาคแต่งเพลงไว้มากมายโดยดั้งเดิมเป็นเพลงสำหรับใช้ในโบสถ์ เช่น "แพชชั่น" บาคถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2293 ที่เมืองไลพ์ซิก
บาคเป็นนักประพันธ์ดนตรีสมัยบาโรค เขาสร้างดนตรีของเขาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของยุคสมัย บาคมีอิทธิพลอย่างสูงและยืนยาวต่อการพัฒนาดนตรีตะวันตก แม้แต่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่เช่น โมซาร์ท และ เบโธเฟน ยังยอมรับบาคในฐานะปรมาจารย์
งานของบาคโดดเด่นในทุกแง่ทุกมุม ด้วยความพิถีพิถันของบทเพลงที่เต็มไปด้วย ท่วงทำนอง เสียงประสาน หรือ เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่าง ๆ รูปแบบที่สมบูรณ์แบบ เทคนิคที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี การศึกษาค้นคว้า แรงบันดาลใจอันเต็มเปี่ยม รวมทั้งปริมาณของบทเพลงที่แต่ง ทำให้งานของบาคหลุดจากวงจรทั่วไปของงานสร้างสรรค์ที่ปกติแล้วจะเริ่มต้น เจริญเติบโตถึงขีดสุด แล้วเสื่อมสลาย นั่นคือไม่ว่าจะเป็นเพลงที่บาคได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือเพลงที่ประพันธ์ในช่วงหลังของชีวิตนั้นจะมีคุณภาพทัดเทียมกัน
ประวัติ
ไอเซอบาค
บาคถือกำเนิดในครอบครัวนักดนตรีที่ยึดอาชีพนักดนตรีประจำราชสำนัก ประจำเมืองและโบสถ์ในมณฑลทูรินจ์มาหลายชั่วอายุ ซึ่งก็นับได้ว่าโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค เป็นรุ่นที่ห้าแล้ว หากจะนับกันตั้งแต่บรรพบุรุษที่บาครู้จัก นั่นคือนายเวียต บาค ผู้มีชีวิตในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในฐานะเจ้าของโรงโม่และนักดนตรีสมัครเล่นในฮังการี ตั้งแต่บาคเกิด สมาชิกครอบครับบาคที่เล่นดนตรีมีจำนวนหลายสิบคน ทำให้ตระกูลบาคกลายเป็นครอบครัวนักดนตรีที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกบาคได้รับการศึกษาทางดนตรีจากบิดา คือ โยฮันน์ อัมโบรซิอุส นักไวโอลิน เมื่ออายุได้สิบปี เขาก็ต้องสูญเสียทั้งมารดาและบิดาในเวลาที่ห่างกันเพียงไม่กี่เดือน ทำให้เขาต้องอยู่ในความอุปการะของพี่ชายคนโต โยฮันน์ คริสตอฟ บาค ผู้เป็นศิษย์ของโยฮันน์ พาเคลเบล และมีอาชีพเป็นนักเล่นออร์แกนในเมืองโอร์ดรุฟ ในขณะที่รับการศึกษาด้านดนตรีไปด้วย โยฮันน์ เซบาสเตียนได้แสดงให้เห็นความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี รวมทั้งยังช่วยครอบครัวหาเงินโดยการเป็นนักร้องในวงขับร้องประสานเสียงของครอบครัว และยังชอบคัดลอกงานประพันธ์และศึกษาผลงานของนักประพันธ์อื่น ๆ ที่เขาสามารถพบหาได้อีกด้วยเช่นกันกับทุกคนที่ชื่นชอบนักดนตรีเอกของโลกอย่าง โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค

ลืส์เนบวร์ก
ทรัพย์สินเงินทองของพี่ชายชองโยฮันน์ เซบาสเตียน มีจำกัด อีกทั้งพี่ชายยังมีครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดู ราวปี พ.ศ. 2243(ค.ศ. 1700) โยฮันน์ เซบาสเตียน ก็ได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนที่โรงเรียนในโบสต์ (ลา มิคาเอลิสสกูล) ที่เมืองลูนเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ห่างออกไปทางเหนือราว 200 กิโลเมตร ซึ่งเขาต้องเดินทางด้วยเท้าไปเข้าเรียนที่นั่นพร้อมกับเพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่ง นอกเหนือจากการเรียนดนตรีแล้ว เขายังได้ยังได้เรียนวาทศิลป์ ตรรกศาสตร์ ภาษาละติน ภาษากรีก และภาษาฝรั่งเศส เขายังได้ทำความรู้จักกับจอร์จ เบอห์ม นักดนตรีของ โจฮันเนส เคียร์ช และศิษย์ของ โยฮันน์ อาดัม เรนเคน นักเล่นออร์แกนคนดังของนครฮัมบูร์ก เรนเคนนี่เองที่เป็นคนสอนเขาเกี่ยวกับรูปแบบดนตรีของเยอรมนีตอนเหนือ ที่ลือเนบวร์ก เขายังได้รู้จักกับนักดนตรีชาวฝรั่งเศสอพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโธมาส์ เดอ ลา เซลล์ ศิษย์ของลุลลี และด้วยการได้สัมผัสกับวัฒนธรรมทางดนตรีในอีกรูปแบบ เขาได้คัดลอกบทเพลงสำหรับออร์แกนของนิโกลาส์ เดอ กรินยี และเริ่มติดต่อทางจดหมายกับ ฟร็องซัวส์ คูเปอแรงบาคศึกษาและวิเคราะห์โน้ตแผ่นของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงด้วยความละเอียดรอบคอบ ความสนอกสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของเขามีมาก กระทั่งว่าเขายอมเดินเท้าไปหลายสิบกิโลเมตรเพื่อจะฟังการแสดงของนักดนตรีดัง เป็นต้นว่าจอร์จ โบห์ม โยฮันน์ อาดัม เรนเคน และ วินเซนต์ ลึบเบ็ค และแม้กระทั่ง ดีทริช บุกซ์เตฮูเด้ ผู้ซึ่งโด่งดังกว่า

อาร์นชตัดท์
ในปีพ.ศ. 2246 บาคได้กลายเป็นนักเล่นออร์แกนประจำเมืองอาร์นสตัดต์ เขาเริ่มมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วในฐานะนักดนตรีเอก และนักดนตรีที่เล่นสดได้โดยไม่ต้องดูโน้ต

มึลเฮาเซ่น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2250 ถึง พ.ศ. 2251 เขาได้เป็นนักเล่นออร์แกนประจำเมืองมุห์ลโฮเซน บาคได้ประพันธ์เพลงแคนตาตาบทแรกขึ้น ซึ่งเป็นบทนำก่อนที่เขาจะเริ่มประพันธ์บทเพลงทางศาสนาอันยิ่งใหญ่อลังการ และเขายังได้ประพันธ์บทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยออร์แกนเพิ่มเติมด้วย อันเป็นผลงานที่ยืนยันถึงความอัจฉริยะ ความลึกซึ้ง และความงามอันบริสุทธิ์ของเขา ทำให้บาคกลายเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ในบรรดาบทเพลงทางศาสนาแล้ว ตลอดชั่วชีวิตของบาค เขาได้ใช้เวลากับการประพันธ์เพลงคันตาต้า ร่วมห้าปี หรือกว่าสามร้อยชิ้น ในบรรดาบทเพลงราวห้าสิบชิ้นที่สูญหายไปนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่ถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

ไวมาร์
ในระหว่างปี พ.ศ. 2251 ถึง พ.ศ. 2260 บาคดำรงตำแหน่งนักเล่นออร์แกน และนักไวโอลินเดี่ยวมือหนึ่ง ประจำวิหารส่วนตัวของดยุคแห่งไวมาร์ ทำให้เขามีทั้งออร์แกน เครื่องดนตรีและนักร้องประจำวงในครอบครอง ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์ผลงานของบาคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพลงบรรเลงด้วยออร์แกน คันตาต้า เพลงสำหรับฮาร์ปซิคอร์ด ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากปรมาจารย์ทางดนตรีชาวอิตาเลียนทั้งหลาย
เคอเท่น
ระหว่างปี พ.ศ. 2260 ถึง พ.ศ. 2266 เขาได้ตำรงตำแหน่งผู้ดูแลวิหารประจำราชสำนักของเจ้าชายอานฮัลต์-เคอเธ่น เจ้าชายเป็นนักดนตรีและนักเล่นฮาร์ปซิคอร์ด ช่วงเวลาอันแสนสุขของการเติบโตในหน้าที่การงาน ได้เป็นแรงผลักดันให้เขาประพันธ์ผลงานที่ยิ่งใหญ่มากมาย สำหรับบรรเลงด้วย ลิวต์(Lute) ฟลู้ต ไวโอลิน(โซนาตาและบทเพลงสำหรับเดี่ยวไวโอลิน) ฮาร์ปซิคอร์ด(หนังสือ เว็ลเท็มเปอร์คลาเวียร์ เล่มที่สอง) เชลโล(สวีทสำหรับเดี่ยวเชลโล) และบทเพลงบรันเด็นเบอร์ก คอนแชร์โต้ หกบท
ไลป์ซิก
ระหว่างปี พ.ศ. 2268 ถึง พ.ศ. 2293 หรือเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีที่บาคพำนักอยู่ที่เมืองไลพ์ซิก บาคได้สืบทอดตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรีของโบสถ์เซนต์ โธมัส ในนิกายลูเธอรัน ต่อจากโยฮันน์ คูห์นาว เขาเป็นครูสอนดนตรีและภาษาละติน แต่ก็ยังต้องประพันธ์เพลงจำนวนมากให้กับโบสถ์ โดยมีบทเพลงคันตาต้า (Cantata) ทุกวันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์ ในขณะดำรงตำแหน่งนี้ เขาได้ประพันธ์คันตาต้าไว้กว่า 126 บท แต่บทเพลงดังกล่าวมักจะไม่ได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างที่ควรเนื่องจากขาดแคลนเครื่องดนตรี และนักดนตรีที่มีฝีมือ

บาคได้ใช้แนวทางเดิมในการประพันธ์บทเพลงใหม่ ๆ แต่ความเป็นอัจฉริยะ ความคิดสร้างสรรค์ และความฉลาดของเขาทำให้ผลงานทุกชิ้นมีเอกลักษณ์ และถูกนับเป็นหนึ่งในผลงานยอดเยี่ยมแห่งประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก โดยเฉพาะ "เซนต์แมทธิวแพชชั่น" "แมส ในบันไดเสียงบีไมเนอร์" "เว็ลเท็มเปอร์คลาเวียร์" "มิวสิคคัล ออฟเฟอริ่ง" ดนตรีของบาคหลุดพ้นจากรูปแบบทั่วไป โดยที่เขาได้ใช้ความสามารถของเขาอย่างเต็มพิกัด และถ่ายทอดออกมาเป็นบทเพลงจนถึงขีดสุดของความสมบูรณ์แบบ
มรดกทางดนตรี
เมื่อโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ดนตรีบาโรคได้ถึงจุดสุดยอดและถึงกาลสิ้นสุดในเวลาอันรวดเร็ว หลังจากการเสียชีวิตของบาค ดนตรีของเขาได้ถูกลืมไป เนื่องด้วยเพราะมันล้าสมัยไปแล้ว เช่นเดียวกับเทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่างๆที่เขาพัฒนาให้มันสมบูรณ์แบบอย่างหาใดเทียมทาน
บุตรชายที่เขาได้ฝึกสอนดนตรีไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิลเฮ็ล์ม ฟรีดมานน์ บาค คาร์ล ฟิลลิป เอ็มมานูเอ็ล บาค โยฮันน์ คริสตอฟ ฟรีดริช บาค และ โยฮันน์ คริสเตียน บาค ได้รับถ่ายทอดพรสวรรค์บางส่วนจากบิดา และได้รับถ่ายทอดเทคนิคการเล่นจากบาค ก็ได้ทอดทิ้งแนวทางดนตรีของบิดาเพื่อไปสนใจกับแนวดนตรีที่ทันสมัยกว่าในที่สุด เช่นเดียวกับนักดนตรีร่วมสมัยเดียวกันกับบาค (เป็นต้นว่า เกออร์ก ฟิลลิป เทเลมันน์ ผู้มีอายุแก่กว่าบาคสี่ปี ก็ได้รับอิทธิพลจากดนตรีที่ทันสมัยกว่า)
ปรากฏการณ์นิยมแนวดนตรีใหม่นี้ก็เกิดกับโวล์ฟกัง อมาดิอุส โมซาร์ทเช่นกัน จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อบารอนฟาน สวีเทน ผู้หลงใหลในดนตรีบาโรคและมีห้องสมุดส่วนตัวสะสมบทเพลงบาโรคไว้เป็นจำนวนมาก ได้ให้โมซาร์ทชมผลงานอันยิ่งใหญ่ของบาคบางส่วน ทำให้ความมีอคติต่อดนตรีบาโรคของโมซาร์ทนั้นถูกทำลายไปสิ้น จนถึงขั้นไม่สามารถประพันธ์ดนตรีได้ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเขาสามารถยอมรับมรดกทางดนตรีของบาคได้แล้ว วิธีการประพันธ์ดนตรีของเขาก็เปลี่ยนไป ราวกับว่าบาคมาเติมเต็มรูปแบบทางดนตรีให้แก่เขา โดยที่ไม่ต้องละทิ้งรูปแบบส่วนตัวแต่อย่างใด ตัวอย่างผลงานของโมซาร์ทที่ได้รับอิทธิพลของบาคก็เช่น "เพลงสวดศพเรเควียม" "ซิมโฟนีจูปิเตอร์" ซึ่งท่อนที่สี่เป็นฟิวก์ห้าเสียง ที่ประพันธ์ขึ้นโดยใช้เทคนิคการสอดประสานกันของท่วงทำนองต่างๆ รวมทั้งบางส่วนของอุปรากรเรื่อง"ขลุ่ยวิเศษ"
ลุดวิก ฟาน เบโธเฟนรู้จักบทเพลงสำหรับคลาวิคอร์ดของบาคเป็นอย่างดี จนสามารถบรรเลงบทเพลงส่วนใหญ่ได้ขึ้นใจ ตั้งแต่วัยเด็ก
สำหรับประชาชนทั่วไปแล้ว ความเป็นอัจฉริยะของบาคไม่ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อันเนื่องมาจากความพยายามของเฟลิกซ์ เม็นเดลโซห์น ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้อำนวยการดนตรีที่โบสถ์เซนต์โธมัส แห่งเมืองไลพ์ซิก นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผลงานของบาคที่ยืนยงคงกระพันต่อการเปลี่ยนแปลงของรสนิยมทางดนตรี ก็ได้กลายเป็นหลักอ้างอิงที่มิอาจหาผู้ใดเทียมทานได้ในบรรดาผลงานดนตรีตะวันตกในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 30 ที่เมืองไลพ์ซิก คาร์ล สโตรป ได้คิดค้นวิธีบรรเลงบทเพลงของบาคในรูปแบบใหม่ โดยการใช้เครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และใช้วงขับร้องประสานเสียงในแบบที่ยืดหยุ่นกว่าที่บรรเลงและขับร้องกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขายังได้บรรเลงบทเพลงทางทฤษฎี เป็นต้นว่า อาร์ต ออฟฟิวก์ (โดยใช้วงดุริยางค์ประกอบด้วย) ผลสัมฤทธิ์ของแนวทางใหม่นี้ได้เห็นเป็นรูปธรรมในคริสต์ทศวรรษที่ 50 โดยมีนักดนตรีอย่างกุสตาฟ เลออนฮาร์ทและบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเขา รวมถึงนิโคเลาส์ อาร์นองกูต์ โดยที่กุสตาฟ เลออนฮาร์ทและนิโคเลาส์ อาร์นองกูต์เป็นนักดนตรีคนแรกๆที่บันทึกเสียงบทเพลงคันตาต้าของบาคครบทุกบทแม้ว่าดนตรีของบาคจะถูกตีความในลักษณะอื่น เช่น แจ๊ส (บรรเลงโดยฌาค ลูสิเยร์(Jaques Loussier) หรือ เวนดี คาร์ลอส) บรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีประเภทอื่น หรือถูกดัดแปลงเป็นแจ๊ส มันก็ยังคงเอกลักษณ์เดิมไว้ ราวกับว่าโครงสร้างของบทเพลงที่โดดเด่นทำให้สิ่งอื่น ๆ กลายเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้นมาร์เซล ดูเปรสามารถบรรเลงบทเพลงทุกบทของบาคด้วยออร์แกนได้อย่างขึ้นใจ เช่นเดียวกับเฮลมุท วาลคา นักเล่นออร์แกนชาวเยอรมัน ผู้ที่ตาบอดตั้งแต่เกิด แต่ก็ได้หัดเล่นเพลงของบาคโดยอาศัยการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ

แนวคิด
บาคเป็นคนประเภทที่เห็นคนอื่นๆเป็นเพียงเด็กน้อยในสายตาของเขา โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์
หากไม่มีบาค เทววิทยาคงขาดเป้าหมาย การสร้างโลกของพระเจ้ากลายเป็นเพียงตำนาน และความว่างเปล่ากลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ หากมีใครสักคนที่เป็นหนี้บุญคุณบาคทุกอย่าง นั่นคงเป็นพระเจ้า ซิโอร็อง, Syllogismes de l'amertume สำนักพิมพ์กัลลิมาร์
ดนตรีของบาคมีแนวโน้มจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิต มีชีพจร และอารมณ์ความรู้สึก ปิแอร์ วิดาล
มีบาคก่อน...แล้วจึงมีคนอื่นๆตามมา พาโบล คาซาลส์
ถึงแม้ข้าพเจ้าจะมีความรักในศิลปินคนอื่น – ไม่ได้รักเบโธเฟนและโมซาร์ทน้อยไปกว่ากัน – ข้าพเจ้าก็ไม่อาจเห็นด้วยกับคำกล่าวของคาซาลส์ได้ บาคโดดเด่นกว่าพวกเขาเหล่านั้นทั้งหมด » ปอล โทเทลลิเยร์
บทประพันธ์ที่สำคัญ
คันตาต้า BWV 4, BWV 6, BWV 78, BWV 106, BWV 140, BWV 136, BWV 198, BWV 146, BWV 177, BWV 127, BWV 35, BWV 51, BWV 56, BWV 82, BWV 201, BWV 205, BWV 208, BWV 211, BWV 212.
BWV 245
เซนต์แมทธิวแพชชั่น, BWV 244
แมส ในบันไดเสียงบีไมเนอร์, BWV 232
คริสต์มาส โอราทอริโอ, BWV 248
มักนิฟิคัท, BWV 243
โมเต็ต, BWV 225 ถึง BWV 231
ท็อคคาต้า และ ฟิวก์ ในบันไดเสียง ดีไมเนอร์ สำหรับออร์แกน, BWV 565 และบทเพลงพรีลูด แอนด์ ฟิวก์อีกหลายบท เป็นต้นว่า BWV 542, 543, 544, 545, 582;
โกลด์แบร์ก วาริเอชั่น, BWV 988 ;
พาร์ติต้าหกบทสำหรับคลาวิคอร์ด, BWV 825 ถึง BWV 830
อินเวนชั่นและซิมโฟนี, BWV 772 ถึง BWV 801
อินเวนชั่น, BWV 772 สื่อ:Bach-invention-01.mid
ซิมโฟนี, BWV 787 : สื่อ:Bwv787.mid
เว็ลเท็มเพปร์คลาเวียร์, BWV 846 ถึง BWV 893
พรีลูดหมายเลข 1, BWV 846 : สื่อ:Wtk1-prelude1.mid
โซนาต้า และพาร์ติต้าสำหรับเดี่ยวไวโอลิน, BWV 1001 ถึง BWV 1006
สวีทสำหรับเดี่ยวเชลโล, BWV 1007 ถึง BWV 1012
สวีทสำหรับเดี่ยวเชลโล, BWV 1008, โน้ตแผ่น http://wikisource.org/wiki/Suite_pour_violoncelle%2C_II#Courante
โซนาต้าสำหรับฟลู้ต, BWV 1013, BWV 1020, BWV 1030 ถึง BWV 1035
บรันเด็นเบอร์ก คอนแชร์โต หกบท, BWV 1046 ถึง BWV 1051
คอนแชร์โตสำหรับไวโอลิน, BWV 1041, BWV 1042, BWV 1043
คอนแชร์โตสำหรับฮาร์ปซิคอร์ด, BWV 1052 ถึง BWV 1065
สวีทสำหรับออร์เคสตร้า, BWV 1066 ถึง BWV 1070
มิวสิคคัล ออฟเฟอริ่ง, BWV 1079
อาร์ต ออฟ ฟิวก์, BWV 1080

Violin Sonata No. 1 in G minor (BWV 1001) ในลายมือของบาค[แก้] การจัดเรียงผลงานการประพันธ์
ผลงานดนตรีของบาคเรียงลำดับตัวเลขตามหลังคำว่า BWV ซึ่งเป็นตัวย่อของ Bach Werke Verzeichnis แปลว่า แคตตาล็อกผลงานของบาค ตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1950 เรียบเรียงโดยโวล์ฟกัง ชมีเดอร์ (Wolfgang Schmieder). แคตตาล็อกนี้ไม่ได้ถูกเรียงลำดับตามเวลาที่ประพันธ์ แต่เรียงตามลักษณะของบทประพันธ์. เช่น BWV 1-224 เป็นผลงานคันตาต้า, BWV 225–48 เป็นผลงานสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียง, BWV 250–524 เป็นผลงานขับร้องและดนตรีศาสนา, BWV 525–748 เป็นผลงานสำหรับออร์แกน, BWV 772–994 เป็นผลงานสำหรับเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด, BWV 995–1000 เป็นผลงานสำหรับลิวท์, BWV 1001–40 เป็นผลงานดนตรีเชมเบอร์(chamber music), BWV 1041–71 เป็นผลงานสำหรับวงดุริยางค์ และ BWV 1072–1126 เป็นผลงานแคนนอน และ ฟิวก์ ในขั้นตอนการจัดเรียงแคตตาล็อกนี้ ชมีเดอร์เรียบเรียงตาม Bach Gesellschaft Ausgabe ที่เป็นผลงานของบาคแบบครบถ้วนที่ตีพิมพ์ขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1850-1905



โยฮันเนส บราห์ม

โยฮันเนส บรามส์ (อังกฤษ Johannes Brahms 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2376 - 3 เมษายน พ.ศ. 2440 พ.ศ. 2440) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวเยอรมัน หลายคนยกย่องเขาในฐานะทายาททางดนตรีของเบโธเฟน ซิมโฟนีบทแรกของเขาได้รับการยกย่องจาก ฮันส์ ฟอน บือโลว์ ว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโธเฟน
ประวัติ
บรามส์เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) ที่นครฮัมบูร์กประเทศเยอรมนีบิดาของบรามส์เป็นนักเล่นดับเบิลเบสและยังเป็นครูดนตรีคนแรกของเขาอีกด้วย บรามส์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถมากอันโดดเด่นเกินวัย สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท ครูดนตรีคนสำคัญของเขาได้แก่เอด๊วด มาร์กเซ็น ได้สอนเขาอย่างตั้งอกตั้งใจ ด้วยความหวังที่ว่าเขาจะกลายเป็นนักเปียโนเอกในอนาคต โดยได้สอนเทคนิคการเล่นของ บาค โมซาร์ท และเบโธเฟน ซึ่งกลายเป็นที่จดจำของบรามส์ไปตลอด โดยมิได้ทำลายพรสวรรค์ทางการสร้างสรรค์ของศิษย์ความสามารถทางการเล่นเปียโนของเขา ทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพครั้งแรกที่ผับแห่งหนึ่งในนครฮัมบูร์ก ตั้งแต่มีอายุเพียงสิบสามปี
ในปีพ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) บรามส์ออกตระเวนเปิดการแสดงกับเพื่อนนักไวโอลิน ชื่อเอด๊วด เรเมนยี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับนักไวโอลินชื่อดังแห่งยุค โยเซ็ฟ โยอาคิม ผู้ซึ่งประทับใจฝีมือของบรามส์มาก และยังได้แนะนำให้เขาได้รู้จักกับ ฟรานซ์ ลิซท์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชูมันน์ กับภรรยา คลาร่า ชูมันน์ ซึ่งเขาได้สนิทสนมด้วยเป็นอย่างดี อิทธิพลของชูมันน์ที่มีต่องานของบรามส์นั้นใหญ่หลวงนักระหว่างปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) ถึง พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะนักร้องประสานเสียงประจำวังของเจ้าชายแห่งเด็ตโมลด์ ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้ประพันธ์เซเรเนดสำหรับวงดุริยางค์ขึ้นสองบท และคอนแชร์โต้สำหรับเปียโนชื้นแรกปีพ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) เขาได้เดินทางกลับสู่นครเวียนนา ชื่อเสียงในฐานะนักดนตรีของเขาเพิ่มขึ้น และได้รับการยกย่องให้เป็น ทายาทดนตรีของเบโธเฟน เพลงสวดเรเควียมของเขาเป็นเครื่องพิสูจน์คำกล่าวนั้นได้เป็นอย่างดีในปีพ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) เขาได้พบกับวาทยกรฮันส์ ฟอน บือโลว์ ผู้ซึ่งมีอุปการะคุณต่องานดนตรีของบรามส์เป็นอย่างมากในภายหลังในปีพ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) บรามส์แต่งซิมโฟนีบทแรกสำเร็จ ได้รับการขนานนามว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบโธเฟน ตามคำกล่าวของบือโลว์ จากนั้นก็มีงานประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ตามมาจำนวนมาก ซิมโฟนีสามบท คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน คอนแชร์โต้หมายเลขสองสำหรับเปียโน จนกระทั่งถึงผลงานเอกในช่วงบั้นปลายชีวิต นั่นก็คือบทเพลงสำหรับคลาริเน็ท
งานของบรามส์ได้รับอิทธิพลหลากหลาย โดดเด่นด้วยศาสตร์แห่งconterpoint และ โพลีโฟนี ความงดงามของบทเพลงที่เขาประพันธ์อยู่ที่รูปแบบคลาสสิกที่ถูกแต่งแต้มด้วยความถวิลหาของยุคโรแมนติก แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีสันทางดนตรีอันบรรเจิด ท่วงทำนองที่สร้างสรรค์ และจังหวะทำให้ประหลาดใจด้วยการสอดประสานกันเป็นผลงานส่วนตัวของบรามส์ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ ซึ่งเราอาจนึกว่าจะเข้าใจยากเมื่อแรกได้ยิน แต่เราก็จะเข้าถึงได้และขาดมันไม่ได้ในที่สุดนับเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญของประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ศพของโยฮันเนส บรามส์ถูกฝังไว้ที่สุสานกลางแห่งนครเวียนนา ในส่วนของนักดนตรีคนสำคัญผู้ล่วงลับ
ผลงาน
สำหรับวงดุริยางค์
เซเรเนด โอปุส 11 และโอปุส 16
ซิมโฟนีหมายเลข 1 ในบันไดเสียง เอไมเนอร์ โอปุส 68
ซิมโฟนีหมายเลข 2 ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์ โอปุส 75
ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในบันไดเสียง เอเมเจอร์ โอปุส 90
ซิมโฟนีหมายเลข 4 ในบันไดเสียง อีไมเนอร์ โอปุส 98
เพลงโหมโรง "อะคาเดมิก เฟสติวัล" โอปุส 81
เพลงโหมโรง "ทราจิก" โอปุส 81
วาริเอชั่นจากทำนองของไฮเดิน โอปุส 56
ฮังกาเรียน แดนซ์
คอนแชร์โต้
คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน หมายเลข 1 โอปุส 15
คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน หมายเลข 2 โอปุส 83
คอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน โอปุส 77
ดัลเบิ้ลคอนแชร์โต้สำหรับไวโอลิน และเชลโล่ โอปุส 102
เชมเบอร์มิวสิก
ควินเต็ต สำหรับคลาริเน็ทและเครื่องสาย โอปุส 115
ทริโอ สำหรับ คลาริเน็ท เชลโล่ และเปียโน โอปุส 114
เซ็กเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุส 18
เซ็กเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 2 โอปุส 36
โซนาต้าสำหรับคลาริเน็ตและเปียโน โอปุส 120
โซนาต้าสำหรับไวโอลินและเปียโน โอปุสที่ 100 โอปุส 108
โซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน หมายเลข 2 โอปุส 99
ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุส 88
ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 2 โอปุส 111
ควอร์เต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 และหมายเลข 2 โอปุส 51
ควอร์เต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 3 โอปุส 67
ควอร์เต็ตสำหรับเปียโนและเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุส 25 หมายเลข 2 โอปุส 26 และหมายเลข 3 โอปุส 60
ดนตรีขับร้อง
"เยอรมัน" เรเควียม โอปุส 45 Magelone Romanzen (เพลงโรแมนซ์สิบห้าบท) โอปุส 33 ; Zigeurnerlieder (เพลงร้องยิปซี) , Volskieder (เพลงพื้นบ้าน) Rinaldo โอปุส 50
เพลงขับร้องสี่บท โอปุส 121
แรพโซดี้สำหรับ นักร้องเสียงอัลโต้ และวงดุริยางค์ โอปุส 53
เพลงอื่น ๆ อีกมากมาย
ดนตรีสำหรับเปียโน
บรามส์ ได้แต่งเพลงบรรเลงเปียโนไว้เพียง 12 ชิ้น จากแคตตาล็อกผลงานทั้งหมดรวมกว่า 122 ชิ้น
โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 1 โอปุส 1
โซนาต้าสำหรับเปียโน หมายเลข 3 ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ โอปุส 5
บัลลาร์ดสำหรับเปียโน โอปุส 10
วาริเอชั่น กับ ฟิวก์ จากทำนองเพลงของไฮเดิ้น โอปุส 24
วาริเอชั่น กับ ฟิวก์ จากทำนองเพลงของปากานีนี โอปุส 35
วอลซ์ 16 บท โอปุส 39
แรพโซดี้ โอปุส 76
แรพโซดี้สำหรับเปียโน โอปุส 79
บทเพลงสำหรับเปียโน โอปุส 116 และโอปุส 117
บทเพลงหกชิ้นสำหรับเปียโน โอปุส 118 และ 119
บรามส์ยังได้ประพันธ์เพลงจำนวนหนึ่งไว้สำหรับบรรเลงด้วยเปียโนสี่มือ


โรเบิร์ต ชูมันน์

โรเบิร์ต อะเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ (อังกฤษ: Robert Alexander Schumann 8 มิถุนายน พ.ศ. 2353 ที่เมือง ซวิคโคว์ (Zwickau) - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399) เกิดที่เมือง (Endenich) ซึ่งปัจจุบันนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนี ชูมันน์เป็นคีตกวี ชาวเยอรมัน ในยุคโรแมนติก อย่าสับสนโรเบิร์ต ชูมันน์กับ โรแบร์ ชูม็อง (Robert Schuman) นักการเมืองชาวฝรั่งเศส (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2506)

ประวัติ

ในวัยเด็ก โรเบิร์ต ชูมันน์ มีความสนใจในศิลปะสองแขนง นั่นคือเปียโนกับวรรณคดี (บิดาของเขาเป็นคนบ้าเซกซ์มากๆจึงทำไห้ไม่มีความน่าเชื่อถือ) ดังนั้นในวัยเด็ก เขาจึงทั้งแต่งเพลง และแต่งหนังสือ รวมถึงบทกวีด้วย เมื่อบิดาที่เขารักเสียชีวิตลง เขาจึงสูญเสียผู้ให้การสนับสนุนในโครงการต่างๆที่จะทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพ มารดาของเขาผลักดันให้เขาเรียนด้านกฎหมาย ระหว่างการรับการศึกษาด้านกฎหมายที่เมืองไลป์ซิก (Leipzig) เขาก็ได้เรียนเปียโนกับ เฟรดริก ไวค์ (Friedrich Wieck) ผู้ที่กลายเป็นพ่อตาของเขาภายหลัง เมื่อเขาแต่งงานกับบุตรสาวของไวค์ ชื่อคลาร่า เขายอมทำทุกวิถีทางเพื่อยอมเป็นนักดนตรีเอก ทั้งการฝึกฝนด้วยความขยันขันแข็ง และได้ใช้เครื่องกลช่วยเพิ่มความเร็วให้กับการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ จนทำให้นิ้วโป้งมือขวาใช้การไม่ได้ ความฝันที่จะกลายเป็นนักเปียโนเอกต้องสิ้นสุดลงเมื่อเขามีอายุได้เพียง 22 ปีเท่านั้น
หลังจากช่วงเวลาที่เขาต้องซึมเศร้ากับความพิการและการตกหลุมรักสตรีที่แต่งงานแล้ว ในปี พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) ชูมันน์ได้หันมาสนใจและใส่ใจกับการประพันธ์เพลงและการเขียนบทความใน "เนอ ไซท์ชริฟต์ ฟูร์ มิวซิก" (Neue Zeitschrift für Musik) (นิตยสารเพื่อการดนตรีเล่มใหม่) ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่เป็นนักวิจารณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี เขาปกป้องแนวคิดด้านดนตรีที่เป็นดนตรีแท้จริงจากแนวคิดของพวกนายทุน (ภาษาเยอรมันเรียกว่า "Philister") ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้ประพันธ์ผลงานอย่าง "คาร์นิวัล โอปุสที่ 9" (Carnaval op.9)ในปี พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) หลังจากถูกบังคับให้แยกทางกับคลาร่า เขาได้ประพันธ์บทเพลง "โซนาต้า แห่งความรัก" ให้แก่เธอ แต่คำขอแต่งงานของเขาถูกพ่อของคลาร่าปฏิเสธ ทำให้เขาตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าอีกครั้ง เขายังคงประพันธ์ผลงานต่อไปและเป็นงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ เพลงที่โด่งดังได้แก่ เซน ด็องฟ็อง ฟ็องเตซี โนเวลเล็ต เกิดขึ้นมาในช่วงนี้เอง เขาได้หนีไปที่รักษาแผลใจที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และประพันธ์เพลงต่างระหว่างที่รอขอแต่งงานกับคลาร่า
ปี พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) เป็นปีนำโชคของชูมันน์ เขาได้แต่งงานกับคลาร่าในที่สุด ความสุขนี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลงของเขา เขาได้ประพันธ์เพลงมากมายจากบทกวีของ โยฮันน์ โวล์ฟกัง วอน เกอเธ่ ชิลเลอร์ หรือ ไฮน์ เช่นเพลง Liederkreis ความรักของนักกวี และ ความรักและชีวิตของหญิงคนหนึ่ง ในปีต่อมา เขาได้ลองแต่งเพลงออเคสตร้า (ซิมโฟนีหมายเลขหนึ่ง ซิมโฟนีหมายเลข 4 ฯลฯ) ในปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) เขาได้หันมาโปรดปราน แชมเบอร์มิวสิก โดยเขาได้ประพันธ์ไว้หลายชิ้น ในปีถัดมา เขาได้แต่ง โอราโตริโอ "oratorio" "Le Paradis et la Péri และได้ติดตามคลาร่า ภรรยาที่อ่อนโยนและแสนดีของเขา ผู้ซึ่งเป็นนักเปียโนฝีมือฉกาจ ออกเปิดการแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายทั่วทวีปยุโรป หรือแม้กระทั่งในประเทศรัสเซีย
ในปี พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) คู่รักไดตั้งถิ่นฐานที่เมืองเดรสเด้น (Dresden) ที่ๆเขาได้ประพันธ์โอเปร่าชิ้นแรกและชิ้นเดียว ชื่อ เจโนเววา แต่เขาก็ยังคงแต่งฟู้ก ซิมโฟนี เพลงสำหรับเปียโน คอนเทท ฯลฯ ไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) เขาได้กลายเป็นวาทยากรแห่งเมืองดุสเซลดอร์ฟ (Düsseldorf) แต่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) สภาพร่างกายของเขาเสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก และความเจ็บปวดจากโรคซิฟิลิส ทำให้เขาพยายามฆ่าตัวตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) ด้วยการกระโดดแม่น้ำไรน์ที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง ถึงเขาจะโชคดีรอดมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากพวกกะลาสี แต่ก็ต้องก็ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ จากนั้นเขาก็ถูกส่งตัวไปพักฟื้นที่เมืองเอนเดอนิช (Endenich)ไม่มีสิ่งใดสามารถทำให้เขาคลายความทุกข์ลงได้ เขาเสียสติไปแล้ว เนื่องด้วยคิดถึงคลาร่าสุดที่รัก แลเพื่อนรักเฟลิกซ์ เมนเดลโซน และนักดนตรีวัยรุ่น โจฮานเนส บราห์ม ที่เขาได้พบเมื่อสองปีที่แล้ว ในขณะที่เขามีสภาพกึ่งดีกึ่งร้าย ก็ได้ประพันธ์ (บทเพลงแห่งรุ่งอรุณ) ชูมันน์จบชีวิตลงเมื่อวันที่29 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) ซึ่งทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด
ผลงาน
บทเพลงสำหรับ piano
1.Variations Abegg op 1
2.Papillons op2,
3.Toccata op 7 1830
4.Études symphoniques op.13, 1834
5.Carnaval op 9 1835
6.Fantaisie op. 17 (qui se distingue par ses dimensions et une présentation plus abstraite) 1836
7.Drei romanzen op.28
8.Davidsbündlertänze op. 6 1837
9.Fantaisiestücke op. 12 1837 aussi adaptées pour violoncelle et piano
10.Scènes d'enfants op.15 1838
11.Kreisleirianas op.16 1838
12.Novelettes op. 21, 1838
13.Carnaval de Vienne op. 26
14.Scènes d'enfance op.15
15.Kreisleriana op.17
16.Fantaisiestücke op.12
17.Humoresque op.20
บทเพลงสำหรับขับร้อง
1.Les amours du poète
2.L'amour et la vie d'une femme
แชมเบอร์มิวสิก
1.Les Fées (pour alto et piano)


โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (เยอรมัน Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่า (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวานนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย
ประวัติ
โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 - ค.ศ. 1787) รองประธานโบสถ์ในความอุปถ้มภ์ของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งซัลสบูร์ก (Salzburg) กับแอนนา มาเรีย เพิร์ต (Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1778) โวล์ฟกัง อมาเด (โมซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart ไม่เคยถูกเรียกว่า อมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกของพิธีศีลจุ่ม โดยได้รับชื่อละตินว่า Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรี ก่อนวัยอันควร ตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีหูที่ยอดเยี่ยม และความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขา ให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขา ตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และ อัลเลโกร KV.3)
ระหว่าง ค.ศ. 1762 ถึง ค.ศ. 1766 เขาได้เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตกับบิดา (ที่เป็นลูกจ้างของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาค (Schrattenbach) และมาเรีย-อานนา พี่สาวคนโต (มีชื่อเล่นว่า "แนนเนิร์น" เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1751) พวกเขาเปิดการแสดงในนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ตามมาด้วยกรุงเวียนนา ก่อนที่จะออกเดินสายครั้งใหญ่ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มิวนิค ออกสบูร์ก มันน์ไฮม์ แฟรงค์เฟิร์ต บรัสเซล ปารีส ลอนดอน เฮก อัมสเตอดัม ดิจง ลียง เจนีวา โลซาน) การแสดงของเขาประทับใจผู้ชมเป็นอย่างมาก และยังทำให้เขาได้พบกับแนวดนตรีใหม่ๆอีกด้วย เขาได้พบกับนักดนตรีสามคนที่ต้องจดจำเขาไปตลอดชีวิต อันได้โยฮัน โชเบิร์ต ที่กรุงปารีส โยฮันน์ คริสเตียน บาค (บุตรชายคนรองของ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค) ที่กรุงลอนดอน และเบอร์นัว แมร์ล็องผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ที่เมืองปาดู แมร์ล็องนี่เองที่ทำให้โมซาร์ทได้ค้นพบ เปียโนฟอร์ท ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และโอเปร่าในแบบของชาวอิตาเลียน แมร์ล็องยังได้สอนให้เขาแต่งซิมโฟนีอีกด้วย เมื่อปี ค.ศ. 1767โมซาร์ทได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่องแรก ตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง อพอลโล กับ ไฮยาซิน (K.38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละติน ที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยม ที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซัลสบูร์ก เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งโอเปร่าสองเรื่องแรก ได้แก่ นายบาสเตียน กับ นางบาสเตียน และ ลา ฟินตา ซ็อมปลิซ ตลอดช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี
ภาพเขียนแสดงโมซาร์ทในวัยเด็กในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้ง จากเจ้าชายอาร์คบิชอป ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงาน โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมซาร์ทได้เดินทางไปประเทศอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับโอเปร่า อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร (Le Nozze di Figaro) ,ดอน โจวานนี ,โคสิ ฟาน ตุตเต้ ,ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และ ความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้นโชคไม่ดีที่ ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาคได้สิ้นชีพิตักษัย เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขารับใช้เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด (ค.ศ. 1773 - ค.ศ. 1781)
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทโมซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยว และยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอาร์คบิชอป เสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับ โยเซฟ เฮย์เด้น ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต
บั้นปลายชีวิต
บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กทีละน้อย และโมซาร์ทเองก็รับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนะคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมซาร์ท การเสียชีวิตของโมซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ใบมรณภาพของโมซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะ"ไข้ไทฟอยด์" และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้ละเอียดมากขึ้น ชกาลที่ โมซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรเควียม ที่ประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าลือ โมซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่นๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมซาร์ท
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ โมซาร์ทไม่เป็นที่นิยมชมชอบอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เขายังคงมีงานที่มีรายได้ดีจากราชสำนัก และยังได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากส่วนอื่นๆของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรุงปราก ยังมีจดหมายขอความช่วยเหลือทางการเงินของโมซาร์ทหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเขาจนเพราะรายจ่ายเกินรายรับ ศพของเขาไม่ได้ถูกฝังในหลุมฝังศพรวม แต่ในสุสานของชุมชนตามกฎหมายของปีค.ศ. 1783 แม้ว่าหลุมศพดั้งเดิมในสุสานเซนต์มาร์กจะหายไป แต่ก็มีป้ายหลุมศพที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถานในเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ
ในปีค.ศ. 1809 คอนสแตนซ์ได้แต่งงานใหม่กับจอร์จ นีโคเลาส์ ฟอน นีสเสน นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ชาตะค.ศ. 1761 มรณะค.ศ. 1826) ผู้ซึ่งหลงใหลคลั่งใคล้ในตัวโมซาร์ทอย่างมาก ถึงกับแต่งเรื่องราวเกินจริงจากจดหมายของโมซาร์ท และแต่งชีวประวัติของคีตกวีเอกอีกด้วย
โมซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์
ผลงานชิ้นเอก
คาตาล็อกเคอเชล (Köchel catalogue)
ในปีภายหลังการเสียชีวิตของโมซาร์ท ได้มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดเรียงบัญชีผลงานของโมซาร์ท และเป็นลุดวิก ฟอน เคอเชล (Ludwig von Köchel) ที่ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผลงานของโมซาร์ทมักจะมีตัวเลขของเคอเชลติดกำกับอยู่ อย่างเช่น"เปียโนคอนแชร์โตในบันไดเสียงเอเมเจอร์" มักเรียกกันง่ายๆ ว่า "K. 488" หรือ "KV 488" ได้มีการดัดแปลงคาตาล็อกนี้เป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน

เพลงสวด
1.Grande messe en ut mineur KV.427 (1782-83, เวียนนา), แต่งไม่จบ
2.Krönungsmesse (พิธีมิซซาเพื่อขึ้นครองราชย์) en ut majeur KV.317 (1779)
3.Requiem en ré mineur KV.626 (1791, เวียนนา), แต่งไม่จบ
4.Veni sancte spiritus KV.47
5.Waisenhaus-Messe KV.139
6.Ave verum corpus KV.618
สก็อต จอปลิน

สก็อต จอปลิน (Scott Joplin) (พ.ศ. 2410- 1 เมษายน พ.ศ. 2460) ได้กลายเป็นนักดนตรีและคีตกวีเพลงแร็กไทม์ ที่โด่งดังที่สุด และได้สร้างมาตรฐานไว้ให้สำหรับคนรุ่นหลัง
ประวัติ
สก็อต จอปลิน เกิดใกล้ๆกัเมืองลินเดน มลรัฐเทกซัส มีมารดาชื่อนางฟลอเร้นซ์ โจปลิน และบิดาชื่อนายไจล์ส โจปลิน สก็อตเป็นบุตรชายคนที่สองจากลูกทั้งหมดหกคน ถึงแม้ว่าเราจะเคยถือว่าจอปลินเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) แต่การค้นคว้าสมัยใหม่พบว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องหลังจากปี พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) ครอบครัวจอปลินได้ย้านไปอยู่ที่เมืองเท็กซาร์คานา มลรัฐเทกซัส และมารดาของจอปลินได้ทำความสะอาดบ้านเพื่อสก็อตจะได้มีที่หัดเล่นดนตรี ในปี พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) แม่ของเขาได้ซื้อเปียโน หลังจากที่ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถตั้งแต่อายุยังน้อย จอปลินน้อยก็ได้เรียนเปียโนฟรีกับคุณครูชาวเยอรมัน ผู้ได้ให้ความรู้เรื่องรูปแบบของดนตรีคลาสสิกแก่จอปลินเป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเขาในภายภาคหน้า และได้เป็นไฟให้เขาสร้างรูปแบบคลาสสิกให้แก่ดนตรีแร็กไทม์ เขาได้เพิ่มเติมความรู้ด้านดนตรีโดยการเข้าเรียนที่ George Smith College ในเมืองเซดาเลีย ในวิชาประพันธ์เพลง

ผลงานของจอปลิน
1.Antoinette (พ.ศ. 2449)
2.Augustan Club Waltz (พ.ศ. 2444)
3.Bethena (พ.ศ. 2448)
4.Binks' Waltz (พ.ศ. 2448)
5.A Breeze From Alabama (พ.ศ. 2445)
6.Cascades (พ.ศ. 2447)
7.The Chrysanthemum (พ.ศ. 2447) dedicated to Freddie Alexander, Joplin's second wife.
8.Cleopha (พ.ศ. 2445)
9.Combination March (พ.ศ. 2439)
10.Country Club (พ.ศ. 2452)
12.The Great Crush Collision March (พ.ศ. 2439)
13.The Easy Winners (พ.ศ. 2444)
14.Elite Syncopations (พ.ศ. 2445)
15.The Entertainer (พ.ศ. 2445)
16.Eugenia (พ.ศ. 2449)
17.Euphonic Sounds (พ.ศ. 2452)
18.The Favorite (พ.ศ. 2447)
19.Felicity Rag (พ.ศ. 2454) ร่วมกับ Scott Hayden
20.Fig Leaf Rag (พ.ศ. 2451)
21.Gladiolus Rag (พ.ศ. 2450)
22.Harmony Club Waltz (พ.ศ. 2439)
23.Heliotrope Bouquet (พ.ศ. 2450) ร่วมกับ Louis Chauvin
24.I Am Thinking of My Pickanniny Days (พ.ศ. 2445) lyrics by Henry Jackson
25.Kismet Rag (พ.ศ. 2456) ร่วมกับ Scott Hayden
26.Leola (พ.ศ. 2448)
27.Lily Queen (พ.ศ. 2450) ร่วมกับ Arthur Marshall
28.Little Black Baby (พ.ศ. 2446)
29.Magnetic Rag (พ.ศ. 2457)
30.Maple Leaf Rag (พ.ศ. 2442)
31.March Majestic (พ.ศ. 2445)
32.The Nonpareil (พ.ศ. 2450)
33.Original Rags (พ.ศ. 2442) arranged by Chas. N. Daniels
34.Palm Leaf Rag (พ.ศ. 2446)
35.Paragon Rag (พ.ศ. 2452)
36.Peacherine Rag (พ.ศ. 2444)
37.A Picture of Her Face (พ.ศ. 2438)
38.Pine Apple Rag (พ.ศ. 2451)
39.Pleasant Moments (พ.ศ. 2452)
40.Please Say You Will (พ.ศ. 2438)
41.The Ragtime Dance (พ.ศ. 2445)
42.The Ragtime Dance (พ.ศ. 2449) this version was shortened and published to recoup losses from the 1902 version.
43.Reflection Rag (พ.ศ. 2460) posthumous publication
44.The Rose-bud March (พ.ศ. 2448)
45.Rose Leaf Rag (พ.ศ. 2450)
46.Sarah Dear (พ.ศ. 2448) lyrics by Henry Jackson
47.School of Ragtime (พ.ศ. 2451)
48.Searchlight Rag (พ.ศ. 2450)
49.Silver Swan Rag (พ.ศ. 2514) posthumous publication
50.Solace (พ.ศ. 2452)
51.Something Doing (พ.ศ. 2446) ร่วมกับ Scott Hayden
52.Stoptime Rag (พ.ศ. 2453)
53.The Strenuous Life (พ.ศ. 2445)
54.Sugar Cane (พ.ศ. 2451)
55.Sunflower Slow Drag (พ.ศ. 2444) with Scott Hayden
56.Swipsey (พ.ศ. 2443) with Arthur Marshall
57.The Sycamore (พ.ศ. 2447)
58.Treemonisha (พ.ศ. 2454)
59.Wall Street Rag (พ.ศ. 2452)
60.Weeping Willow (พ.ศ. 2446)
61.When Your Hair Is Like the Snow (พ.ศ. 2450) lyrics by "Owen Spendthrift
อิกอร์ สตราวินสกี

อิกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี้ (รัสเซีย: И́горь Фёдорович Страви́нский; อังกฤษ: Igor Stravinsky; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1882 — 6 เมษายน ค.ศ. 1971)) เป็นคีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย
สตราวินสกี้ ราวปี 1950สตรวินสกี้เป็นบุตรชายของนักร้องชื่อดังแห่งโรงละครหลวง เขาเกิดที่เมืองออรานีนบาม (Oranienbaum) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนเป็นชื่อ โลโมโนซอฟ (Lomonosov) ใกล้กับนครเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เขาเรียนด้านกฎหมายกับเปียโน ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ของนิโคไล ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ บทเพลงชื่อดังชิ้นแรกของเขาได้แก่ วิหคเพลิง (ค.ศ. 1910 ด้วยการจ้างของแซร์จ เดียกิเลฟ เพื่อใช้แสดงในคณะบัลเลต์รัสเซีย ตามมาด้วยเพลง เปทรูชก้า (ค.ศ. 1911) พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ (ค.ศ. 1913) และอุปรากร เรื่อง นกไนติงเกล (ค.ศ. 1914) มีเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับบัลเลต์เรื่อง พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งจากท่าเต้น และความไม่เหมือนใครของดนตรีประกอบ ทำให้สตราวินสกี้กลายเป็นคีตกวี ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20
สตราวินสกี้เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานซาน มิเชลในนครเวนิซ ประเทศอิตาลี

ลักษณะของดนตรี
สตราวินสกี้เป็นคีตกวีหนึ่งในสองคนที่ปฏิวัติแนวคิดทางดนตรีของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างสำคัญ อีกคนหนึ่งคือ อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg) สตราวินสกี้มีอิทธิพลอย่างสูงในด้านของแนวคิดเรื่องจังหวะที่ไม่ปกติที่เรียกว่า "อิเร็กกูลาร์ ริทึม" (Irregular Rhythm) แนวคิดทางด้านการใช้บันไดเสียงหลาย ๆ บันไดพร้อมกันที่เรียกว่า "โพลีโทนัลลิตี" (Polytonality) และเป็นผู้นำหนึ่งในสองคนของกระแสดนตรีที่เรียกว่า "นีโอคลาสสิค" (Neo-classicism) (อีกคนคือ พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith)) หลังจากที่เชินแบร์ก เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1951 แล้ว สตราวินสกี้ได้นำเอาเทคนิคในการประพันธ์ดนตรีที่เรียกว่า "ระบบอนุกรม" หรือ "ซีเรียลิซม์" (Serialism) มาใช้แต่ยึดตามแนวทางที่มีลักษณะเป็นคณิตศาสตร์ในแบบของ เวเบิร์น (Anton Webern) มากกว่า
ดนตรีในลักษณะนีโอคลาสสิค ที่เขาเป็นผู้ปลุกกระแสขึ้นมานั้นส่งอิทธิพลต่อคีตกวีมากมาย เช่น กลุ่มคีตกวีทั้งหก หรือ "เลส์ ซิกซ์" (Les Six)ในฝรั่งเศส นาเดีย บูลองเช (Nadia Boulanger)ครูดนตรีและคีตกวีหญิงชาวรั่งเศส ได้สอนวิธีการประพันธ์และลักษณะดนตรีแบบสตราวินสกี้ให้แก่คีตกวีอเมริกันคนสำคัญ ๆ เช่น แอรอน คอปแลนด์, เวอร์จิล ทอมป์สัน และเอลเลียต คาร์เตอร์ เป็นต้น

ประวัติผลงาน
บัลเล่ต์
1.วิหคเพลิง (Firebird) (ค.ศ. 1910)
2.เปทรูชก้า (Petrushka) (ค.ศ. 1911)
3.พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ (La Sacred du printemps) (ค.ศ. 1913)
4.สุนัขจิ้งจอก (Renard) (ค.ศ. 1916)
5.พูลชิเนลลา (Pulcinella) (ค.ศ. 1919-ค.ศ. 1920)
6.งานแต่งงาน (Les Noces) (ค.ศ. 1923)
7.อพอลโล (Apollo) (ค.ศ. 1928)
8.จุมพิตของนางฟ้า (The Fairy's Kiss) (ค.ศ. 1928)
9.ชาวเปอร์เซีย (ค.ศ. 1933)
10.เกมไพ่ (Jeu de cartes) (ค.ศ. 1936)
11.ออร์เฟอุซ (Orpheus) (ค.ศ. 1947)
12.เอกอน (Agon) (ค.ศ. 1957)
13.เชมเบอร์มิวสิค

บทเพลงสามชิ้นสำหรับคลาริเน็ท (ค.ศ. 1919)
1.ออคเต็ต (ค.ศ. 1923)
2.เซ็กซ์เต็ต (ค.ศ. 1953)
บทเพลงขับร้องประสานเสียง
1.คันตาต้า สำหรับวงขับร้องผสมและเปียโน (ค.ศ. 1904)
2.ราชาแห่งดวงดาว (Zvezdoliki, Le Roi des étoiles) สำหรับวงขับร้องชายและวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1912)
3.ปาเตอร์ นอสเตอร์ (ค.ศ. 1926)
4.มิสซา สำหรับวงขับร้องประสานเสียงและวงดับเบิ้ลควินเต็ตเครื่องลม (ค.ศ. 1944-ค.ศ. 1948)
5.แคนติครัม ซากรัม (ค.ศ. 1955)
6.เธรนิ (Threni) (ค.ศ. 1958)
7.คำเทศนา คำบรรยาย และคำสวดอ้อนวอน (ค.ศ. 1961)
8.อับราฮิม กับ อิซาค (ค.ศ. 1963)
9.อินทรอยทัส (ค.ศ. 1965)
10.เรเควียม แคนติเคิ่ล (ค.ศ. 1966)
11.อุปรากรและการแสดงบนเวที
12.นกกางเขน (The Nightingale, Solovey, Le Rossignol) (ค.ศ. 1914)
13.นิทานทหาร (L'histoire du soldat) (ค.ศ. 1918)
14.มาวรา (Mavra) (ค.ศ. 1922)
15.ราชาโอดิปุส (Oedipus Rex) (ค.ศ. 1927)
16.บาเบล (ค.ศ. 1944)
17.เดอะ เรคสฺ โพรเกรส (The Rake's progress) (ค.ศ. 1951)
18.น้ำท่วมโลก (The Flood) (ค.ศ. 1962)
ผลงานสำหรับวงออเคสตร้า
1.ซิมโฟนี ในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอร์ (ค.ศ. 1907)
2.ดอกไม้ไฟ (Fireworks) (ค.ศ. 1908)
3.สวีท หมายเลขหนึ่ง 1 สำหรับวงดนตรีขนาดเล็ก
4.สวีท หมายเลขหนึ่ง 2 สำหรับวงดนตรีขนาดเล็ก
5.บทเพลงของนกกางเขน (Songs of Nightingale) (ค.ศ. 1917)
6.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโนและเครื่องลม (ค.ศ. 1923-ค.ศ. 1924)
7.คาปริชิโอ้สำหรับเปียโนและวงดุริยางค์ (ค.ศ. 1929)
8.ซิมโฟนี ออฟ ซาล์ม (Symphony of Psalms) (ค.ศ. 1930)
9.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน ในบันไดเสียงดี (ค.ศ. 1931)
10.คอนแชร์โต ในบันไดเสียงบีชาร์ป (Dumbarton Oaks) สำหรับวงออเคสตร้าแชมเบอร์ (ค.ศ. 1938)
11.ซิมโฟนีในบันไดเสียงเอ (ค.ศ. 1938-ค.ศ. 1940)
บทเพลงแบบนอร์เวย์สี่บท (ค.ศ. 1942)
1.ซิมโฟนีสามท่อน (ค.ศ. 1942-ค.ศ. 1945)
2.วาริเอชั่น (ค.ศ. 1963-ค.ศ. 1964)
งานสำหรับเดี่ยวเปียโน
1.ทาแรนเทลลา (ค.ศ. 1898)
2.สแกร์โซ (ค.ศ. 1902)
3.บทเพลงในบันไดเสียง เอฟชาร์ปไมเนอร์ (ค.ศ. 1904)
4.เปียโนแรกไทม์ (ค.ศ. 1919)
5.โซนาต้า (ค.ศ. 1924)
บทเพลงขับร้อง
1.โรแมนซ์ สำหรับเสียงร้องและเปียโน (ค.ศ. 1902)
2.บทกวีสองบทของ(ปอล์ แวร์เลน) (ค.ศ. 1910)
3.บทเพลงสี่บท (ค.ศ. 1954)
4.บทกวีของ เค. บัลมอนท์ (ค.ศ. 1954)
5.รำลึกถึง ดีแลน ธอมัส (ค.ศ. 1954)
6.บทเพลงไว้อาลัย เจ.เอฟ.เค. (ค.ศ. 1964)
7.นกฮูกกับแมวเหมียว (ค.ศ. 1966)
เอริก ซาต

เอริก ซาตี (ฝรั่งเศส: Erik Satie) เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม เอริก อาลแฟรด เลลี ซาตี (Éric Alfred Leslie Satie) เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกาลวาโดส วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925)
ประวัติ
ซาตีได้ประพันธ์ผลงานมากมายที่ปราศจากเส้นกั้นแบ่งห้องในบรรทัดห้าเส้น และมีวิธีเขียนโน้ตเพลงในแบบฉบับของตนเอง ในอันที่จะถ่ายทอดผลงานของตนออกมาเขายังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคีตกวีคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น จอห์น เคจ, โกลด เดอบูว์ซี, ฟร็องซิส ปูแล็งก์, มอริส ราแวล, ชอง ค็อคโต้ หรือที่เรียกว่า กลุ่มคีตกวีทั้งหก และเล่นประจำอยู่ที่ชาท์ นัวร์ป้ายบอกชื่อของซาตี ยังติดอยู่ที่หน้าของเขาที่ย่านมงมาทร์เรายังสามารถไปเยี่ยมบ้านเกิดของซาตี ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้ที่เมืององเฟลอร์
ซาตีกับนิกายกุหลาบ-กางเขน
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เอริก ซาตี ร่วมกับโกลด เดอบูว์ซี เข้าร่วม นิกายคับบัลลิสติกแห่งกุหลาบ-กางเขน ของ โจเซฟิน เป-ลาดง กับ สตานิสลาส เดอ ไกวตา ซาตีในฐานะผู้ดูแลวิหารได้ประพันธ์ บทเพลงแห่งกุหลาบ-กางเขน และบุตรแห่งดวงดาว ให้กับนิกายนี้
อารมณ์ขันของซาตี
เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมซาตีถึงมีนิสัยชอบประชดแดกดัน ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างตัวซาตีเอง กับอารมณ์ขัน ในวัยหนุ่ม เขาเป็นคนเอาจริงเอาจัง หลายครั้งที่เขาต้องการที่จะเปลี่ยนความคิดแบบเดิมๆของตน แต่แทนที่จะประกาศยอมรับอย่างเปิดเผย เขามักพูดในทำนองติดตลก ทำให้ผู้คนทั่วไปไม่ทราบว่าเขาเขาพูดจริงหรือพูดเล่น เรื่องทำนองเห็นได้ชัดในบทประพันธ์เรื่อง ความทรงจำของคนที่เป็นโรคความจำเสื่อม ซึ่งคงไม่มีสำนักพิมพ์ใดยอมตีพิมพ์ให้หากว่าเป็นผลงานของนักประพันธ์คนอื่นที่ไม่ใช่ซาตี (ซึ่งที่จริงแล้ว ซาตียังล้อเลียนผลงานของตนเอง)
นอกเหรือจากบุคคลิกที่ต้องซ่อนไว้ ซาตีได้ใช้ความสามารถส่วนที่ดีในการเป็นศิลปินในวงคาบาเรต์ (ด้วยการแต่งท่วงทำนองน่าเวียนหัวประกอบบทกวีชวนขบขัน แต่ว่าในช่วงหลัง เขาได้ประกาศว่างานทั้งหมดนี้ขัดกับนิสัยที่แท้จริงของเขา แต่งานเหล่านี้ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็นต้นว่าเพลง Je te veux หมายความว่า อย่าสนใจบทวิจารณ์ใด ๆ ที่ล้อเลียนผลงานที่ซาตีปฏิเสธโดยสิ้นเชิง นอกเหนือจากนี้ เขายังได้แต่งเรื่องตลกในฐานะนักประพันธ์คุณภาพ เช่นเรื่อง Le piège de Méduse (ซึ่งมีบางส่วนเป็นอัตชีวประวัติ แต่เราก็ไม่อาจหาแก่นสารอะไรกับซาตีได้) แต่อารมณ์ขันของซาตีชัดเจนที่สุดในโน้ตแผ่นที่เขาเขียน ซึ่งแน่นอนว่าโน้ตแผ่นนั้นจะมีเขาคนเดียวที่อ่าน เป็นต้นว่าเขาเขียนว่า Vivache (วัวจงเจริญ) แทนที่คำว่า Vivace (เล่นให้มีชีวิตชีวา) ในบทเพลงโซนาตีน บูโรเครติก (ซึ่งเขาตั้งใจล้อเลียนเคลเม็นติ) ในแบบเดียวกัน เขาก็ได้แต่งเพลงล้อเลียนเพลงมาร์ชงานศพของโชแปง (บทที่สองของ embryons desséchés) ที่เขาเขียนไว้ว่า คำคมจากมาร์ซูก้าชื่อดังของชูเบิร์ต (ชูเบิร์ตไม่เคยแต่งมาร์ซูก้า มีเพียงโชแปงที่ชอบแต่งมาร์ซูก้า) เราพบข้อความล้อเลียนต่างๆในโน้ตแผ่นลายมือต้นฉบับของซาตี ทั้งที่ล้อเลียนซังต์ แซน เดบุซซี่ ฯลฯ สรุปว่า อย่าหาแก่นสารอะไรกับซาตี เนื่องจากซาตีเองไม่เคยยึดถือคีตกวีคนอื่นๆอย่างเป็นจริงเป็นจัง
แต่อย่างไรก็ดี ซาตียังได้ประพันธ์งานอย่างเช่น โสกราตีส ที่แสดงให้เห็นด้านเอาจริงเอาจังของเขา
ผลงานบางส่วนของซาตี
เปียโน
1.ฌีมโนเปดี Gymnopédies I, II et III (ในภาษากรีกแปลว่ายิมนาสติกของเท้า (ด้วยการเหยียบแป้นเหยียบเปียโน)
2.กนอเซียน Gnossiennes I, II, III, IV, V, VI
3.กนอเซียน I : สื่อ:Gnossienne_1.mid
4.น็อกทูร์น I, II, III, IV, V
5.ก่อนความคิดสุดท้าย Avant-dernières pensées
6.Pièces froides - trois airs à fuir
7.Pièces froides - trois danses de travers
8.Deux rêveries nocturnes
9.Embryons dessechés
10.Prélude de la porte héroïque du ciel
11.Trois morceaux en forme de poire
12.Vexations.
ออเคสตรา
1.Parade, musique pour ballet
2.Relâche, musique pour le ballet (avec des séquences pour le film Entr'Acte)
3.Gymnopedies & Gnossiennes Scores + audio & MIDI

โยฮันน์ ชเตราสส์ ที่สอง

โยฮันน์ สเตราส์ ที่สอง (เยอรมัน Johann Strauß (Sohn) - หรือ โยฮันน์ สเตราส์ บุตร หรือ โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์) เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1825 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1899) เป็นคีตกวีชาวออสเตรีย ซึ่งบทประพันธ์เพลงวอลซ์ของเขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดอะ บลู ดานูบ
โยฮันน์ สเตราส์ ที่สอง เป็นบุตรชายของโยฮันน์ สเตราส์ ที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคีตกวีเช่นกัน น้องชายของเขา ๒ คน คือ โยเซฟ สเตราส์ กับ เอด๊วด สเตราส์ ก็เป็นนักประพันธ์เพลง แต่โยฮันน์ที่สองเป็นคนที่โด่งดังที่สุดในตระกูล เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ราชาเพลงวอลซ์ ในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่ และเป็นผู้สร้างให้เกิดกระแสความนิยมเพลงวอลซ์ในกรุงเวียนนา ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 สเตราส์ได้กลายเป็นราชาเพลงวอลซ์ เนื่องจากได้ปฏิวัติรูปแบบวอลซ์ด้วยการยกระดับเพลงระบำชาวนาอันต่ำต้อย ขึ้นมาเป็นเพลงเพื่อให้ความบันเทิงแก่บุคคลชั้นสูงในราชสำนักฮับส์บวร์กได้ เขาไม่เพียงแค่ปฏิวัติเพลงวอลซ์เท่านั้น แต่งานของเขายังโดดเด่นกว่าคีตกวีในยุคเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น โยเซฟ แลนเนอร์ และ โยฮันน์ สเตราส์ ที่หนึ่ง รวมทั้งยังได้สุขสำราญกับชื่อเสียงที่มากกว่าอีกด้วย เพลงโพลก้า กับเพลงมาร์ชของเขายังเป็นที่รู้จักกันดี รวมถึงจุลอุปรากร ชื่อว่า Die Fledermaus.
ประวัติ
สเตราส์เกิดที่กรุงเวียนนา บิดาของเขาไม่ต้องการให้เขาประกอบอาชีพนักดนตรีแต่อยากให้เป็นนายธนาคารมากกว่า อย่างไรก็ดี เขาได้หัดเล่นไวโอลินอย่างลับ ๆ ตั้งแต่วัยเด็กกับฟรานซ์ อามอน นักไวโอลินในวงดนตรีของพ่อ อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อบิดาทราบว่าเขาฝ่าฝืนคำสั่ง โยฮันน์ที่สองเล่าถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า เป็น'ฉากที่มีแต่ความรุนแรงและไม่น่าดูชม' และ 'บิดาของเขาไม่ต้องการรับรู้ใด ๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับแผนการทางดนตรีของเขา' มิใช่ว่าสเตราส์ผู้พ่อไม่ต้องการให้เกิดนักดนตรีคู่แข่ง แต่เขาต้องการให้บุตรของตนหลีกหนีจากชีวิตนักดนตรีเสียมากกว่า จนกระทั่งเมื่อบิดาทิ้งครอบครัวไปอยู่กับภรรยาน้อย เอมิล แทรมบุช จึงเปิดโอกาสให้โยฮันน์ที่สองสามารถเริ่มอาชีพนักประพันธ์เพลงอย่างจริงจังได้ เมื่อเขามีอายุได้ 17 ปี
โยฮันน์ จูเนียร์ได้ศึกษา counterpoint และ เสียงประสาน จากนักทฤษฎีดนตรี ศาสตราจารย์โจอาคิม ฮอฟฟ์มันน์ ผู้เป็นเจ้าของโรงเรียนดนตรีเอกชน ความสามารถของเขาเป็นที่ประจักษ์แก่คีตกวี [[โยเซฟ เดร็คชเลอร์] ซึ่งเป็นครูสอนแบบฝึกหัดด้านเสียงประสานให้ ครูสอนไวโอลินอีกคนชื่ออันโตน โคลมันน์ เป็นผู้ฝึกสอนบัลเลต์ให้กับอุปรากรแห่งราชสำนักเวียนนา ก็ได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้เขาเป็นอย่างดี ด้วยจดหมายแนะนำที่ยอดเยี่ยมหลายฉบับ เขาได้เข้าพบผู้มีอำนาจในกรุงเวียนนาเพื่อขอใบอนุญาตเปิดการแสดง และตั้งวงดุริยางค์ของตนเองขึ้น โดยได้ว่าจ้างสมาชิกจากวงดนตรีต่าง ๆ ที่เล่นในผับ 'Zur Stadt Belgrad' (แหล่งของนักดนตรีที่หางานทำ)มาร่วมวง อิทธิพลของโยฮันน์ สเตราส์ ที่หนึ่ง ทำให้สถานที่ต่าง ๆ ไม่กล้าว่าจ้างสเตราส์บุตร ด้วยเกรงว่าจะทำให้สเตราส์ผู้พ่อโกรธ แต่สเตราส์บุตรสามารถโน้มน้าวผู้บริหารของคาสิโนดอมมาเยอร์ ผู้จัดการสถาบันไฮท์ซิง ในกรุงเวียนนาเป็นผลสำเร็จ ทำให้เขาได้เริ่มเปิดการแสดง สื่อมวลชนต่างโหมเสนอข่าว 'สเตราส์ ปะทะ สเตราส์' หรือการเผชิญหน้าระหว่างบุตรกับบิดา ซึ่งผู้เป็นพ่อเองก็ไม่ยอมไปเปิดการแสดงที่คาสิโนของนายดอมเมอเยอร์อีกตลอดชีวิต ด้วยความโกรธที่บุตรฝ่าฝืนความปรารถนาของเขา ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจเนื่องจากสถาบันไฮท์ซิงเป็นที่ที่เขาประสบความสำเร็จในการแสดงหลายครั้งด้วยกัน
อานโตนิน ดโวชาค


อานโตนิน ดโวชาค ( Antonín Dvořák เป็นคีตกวีชาวเช็ก เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) ที่เมืองมุลโฮเซน (ในภาษาเช็กคือเมืองเนลาโฮเซเวส) ห่างจากกรุงปรากออกไปทางตอนเหนือราว 20 กิโลเมตร ในแคว้นโบฮีเมีย (สาธารณรัฐเช็ก) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ที่กรุงปราก


ชีวประวัติและผลงาน
บิดาของดโวชาคเป็นเจ้าของโรงเตี๊ยม และโรงฆ่าสัตว์ของหมู่บ้าน ดโวชาคต้องออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 11 ปี เพื่อฝึกหัดอาชีพของบิดา แต่บิดาก็รับรู้ถึงความสามารถทางดนตรีที่โดดเด่นของบุตรชายอย่างรวดเร็ว และในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) ได้ส่งเขาให้ไปอยู่กับลุงที่เมืองซโลนิซ ที่ซึ่งดโวชาคได้เรียนภาษาเยอรมัน อันเป็นภาษาภาคบังคับของทางการออสเตรีย และได้พัฒนาความรู้ทางวัฒนธรรมดนตรี และได้เข้าร่วมวงดนตรีของหมู่บ้าน เขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในเมืองคาเมนิซ ในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) เขาได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนในโรงเรียนสอนออร์แกนแห่งกรุงปราก ที่ซึ่งเขาพำนักอยู่ถึงปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) จากนั้น ดโวชาคก็ได้เข้าร่วมวงดุริยางค์ของโรงละครแห่งชาติที่กรุงปราก และเริ่มประพันธ์เพลง เขาประสบผลสำเร็จครั้งแรกจากการประพันธ์เพลงศาสนา ชื่อ ฮิมนุส ในปี พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1872) และได้รับตำแหน่งผู้จัดการแสดงดนตรีของโบสต์นักบุญ อัลดาเบิร์ต

ผลงานชิ้นสำคัญ
ซิมโฟนี
1.ซิมโฟนี หมายเลข 6 โอปุส 60
2.ซิมโฟนี หมายเลข 7 โอปุส 70 B141
3.ซิมโฟนี หมายเลข 8 โอปุส 88 B163
4.ซิมโฟนี หมายเลข 9 โอปุส 95 B178 มีชื่อเรียกว่า จากโลกใหม่
5.ระบำสลาฟ
6.ซิมโฟนีบทกวี L'Ondin, La Sorcière de midi, Le Rouet d'Or B195-199 คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน โอปุส 33 B63
7.คอนแชร์โต้สำหรับเปียโน โอปุส 53 B108
8.คอนแชร์โต้สำหรับเชลโล่ ในบันไดเสียง บีไมเนอร์ โอปุส 104 B191
เชมเบอร์มิวสิค
1.ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล หมายเลข 1 ในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอร์ โอปุส 21 B51
2.ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล หมายเลข 2 ในบันไดเสียง จีไมเนอร์ โอปุส 26 B56
3.ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ โอปุส 65 B130
4.ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล Dumky โอปุส 90 B166
5.ควอร์เต็ตสำหรับเปียโน
6.ควอร์เต็ตสำหรับเครื่องสาย ประกอบไปด้วย
7.ควอร์เต็ตในบันไดเสียง ซีเมเจอร์ โอปุส 61 B121
8.ควอร์เต็ต "อเมริกัน" ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์ โอปุส 96 B179
9.ควอร์เต็ตในบันไดเสียง จีเมเจอร์ โอปุส 106 B192
10.ควอร์เต็ตในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอร์ โอปุส 105 B193
11.ควินเต็ตสำหรับเปียโน ในบันไดเสียง เอเมเจอร์ โอปุส 81 B155
12.ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย ในบันไดเสียง อีแฟลตเมเจอร์ โอปุส 97 B180
13.เซ็กซ์เต็ต ในบันไดเสียง เอเมเจอร์ โอปุส 48
บทเพลงขับร้อง
1.สตาบัต มาแตร์ โอปุสที่ 58 B71
2.รูซัลก้า โอปุสที่ 114 B203

โกลด เดอบูว์ซี


โกลด-อาชีล เดอบูว์ซี (ฝรั่งเศส Claude-Achille Debussy) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล และเสียชีวิตที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918)

ประวัติ
เดอบูว์ซีได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวเพลงของเขาได้ฉีกออกจากยุคโรแมนติกในศตวรรษที่ผ่านมา และได้ปฏิเสธกรอบที่ถูกวางเอาไว้ โดยมีการแสวงหาความเป็นอิสระทางดนตรีอย่างเต็มรูปแบบ
เดอบูว์ซีได้รับรางวัลโรมไพรซ์ ในปี พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1884) ด้วยบทเพลงคันตาต้า ที่มีชื่อว่า ล็องฟ็อง โพรดีกโกลด เดอบูว์ซี กับเอริก ซาตี เป็นหนึ่งในสมาชิกลัทธิคับบาลิสติกแห่งกุหลาบ-กางเขน ที่ก่อตั้งโดย สตานิสลาส ไกวตาเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในขณะที่กองทัพเยอรมันเข้าบุกกรุงปารีสในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ลักษณะดนตรีของเดอบูว์ซี
ดนตรีของเขามีเสียงประสานที่ในหลาย ๆ ครั้งจะไม่เกลาคอร์ดลงไปยังคอร์ดโทนิคของบันไดเสียง มีการใช้เสียงประสานที่กัดกันบ่อยครั้งเพื่อสร้างสีสันแทนที่จะใช้เพื่อนำบทเพลงไปยังคอร์ดโทนิคตามแบบแผนดั้งเดิม มีลักษณะถอยห่างออกจากอารมณ์ความรู้สึกลึก ๆ ด้านในและจะแสดงภาพหรือ "ความประทับใจ ออกมาแทน (ในบางครั้ง) ดนตรีของเขามักจะถูกเรียกว่าเป็นแบบ อิมเพรสชันนิสม์" (impressionism) และมักจะถูกนำไปจับคู่กับงานของมอริส ราแวล (Maurice Ravel) คีตกวีชาติเดียวกัน

ผลงานหลักๆ
สำหรับวงดุริยางค์
1.Prélude à l’après-midi d’un faune
2.La Mer
3.Rêverie
4.Jeux
5.Images : Gigues, Ibéria, Rondes du printemps.
สำหรับเปียโน
1.Suite bergamasque
2.24 Préludes (2 livres de 12 préludes)
3.Children’s Corner
4.12 Études
5.Deux Arabesques
6.Images (livres 1 et 2)
7.Estampes.
เชมเบอร์มิวสิก
1.Quatuor à cordes
2.Sonate pour violon et piano
3.Sonate pour violoncelle et piano
4.Sonate pour flûte, alto et harpe
ชาร์ล กูโน


ชาร์ล-ฟร็องซัว กูโน (ฝรั่งเศส Charles-François Gounod 18 มิถุนายน พ.ศ. 2361–18 ตุลาคม พ.ศ. 2436) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส

ประวัติ

กูโนได้เข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยดนตรีแห่งกรุงปารีส และได้รับรางวัลโรมไพรซ์ในปี พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) ซึ่งเขาได้ถือโอกาสพำนักที่วิลลาเมดีชี ประเทศอิตาลี เพื่อศึกษาทางดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีทางศาสนา
ในปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) อุปรากรเรื่อง เฟาสท์ ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของเขา ก็ได้ถูกนำออกแสดงที่โรงละคร เตอัทร์-ลีริก (Théâtre-lyrique) ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างมาจากบทประพันธ์โศกนาฏกรรมของเกอเทอ เป็นเรื่องราวของหญิงสาวชื่อ มาการิท ที่ถูกล่อลวงโดยชายแก่ชื่อ เฟาสท์ ผู้ซึ่งขายวิญญาณของตนให้แก่ ซาตาน ด้วยบทเพลงที่ยอดเยี่ยม รวมถึงบทร้องของ เมฟิสโต เลอโวดอร์ (วัวทองคำ) และบทร้องของ มาการิท แลร์เดอบีชู (บทเพลงแห่งเพชรพลอย) บทร้องของ แอร์เจ ชื่อลากัสตาฟีโอเร และเพลงประสานเสียงของเหล่าทหารจากบัลเลต์ชื่อ นุยเดอวาลเปอร์จี ทำให้อุปรากรเรื่อง เฟาสท์ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย ด้วยการเปิดการแสดงถึง 70 รอบในปีแรก และในปี พ.ศ. 2410 เขาก็ได้นำอุปรากรเรื่อง โรมิโอกับจูเลียต จากบทประพันธ์ของเชกสเปียร์ ออกแสดง ซึ่งมีบทร้องที่โด่งดัง ได้แก่เพลงวอลทซ์ของจูเลียต เฌอเวอวีฟวร์ (ฉันอยากมีชีวิตอยู่) และบทร้องเสียงเทอร์เนอร์ ชื่อเพลง ลามูร์ลามูร์ (ความรัก ความรัก)
นอกจากกูโนจะมีชื่อเสียงจากอุปรากรแล้ว เขายังประพันธ์ซิมโฟนีอีกสองบท ชื่อว่า เปอตีซิมโฟนี สำหรับเครื่องเป่า ๙ ชิ้น ในปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) และยังมีบทเพลงทางศาสนาอีกจำนวนหนึ่ง โดยมีบทเพลงอันเลื่องชื่อได้แก่ อาเว มารีอา ซึ่งดัดแปลงจากพรีลูดของบาค (BWV 846) และไม่ได้มุ่งให้ขับร้องในโบสต์ ผลงานของกูโน ยังมีบทเพลงขับร้องจำนวนมาก และบทเพลงประกอบบทกวีของ อัลเฟรด เดอ มูสเสท หรือวิกตอร์ อูโก เป็นต้นว่าบทกวีชื่อ เวนิส, โอ้มาแบลเรอแบล และ เดิงเกอร์กีแอม

ผลงานชิ้นสำคัญ
1.Le Médecin malgré lui (1858)
2.เฟาสท์ (1859)
3.Philémon et Baucis (1860)
4.La Colombe (1860)
5.La Reine de Saba (1862)
6.Mireille (1864)
7.โรมิโอ กับ จูเลียต (1867)
8.Cinq-Mars (1877)
9.Polyeucte (1878)
10.Le tribut de Zamora (1881)
11.Sapho (1897)
บทเพลงศาสนา
1.อาเว มารีอา
2.Mors et Vita (1885)
งานเขียนเกี่ยวกับกูโน
1.Faust par Richard Leech, Cheryl Studer, José van Dam, Thomas Hampson
2.le Capitole de Toulouse, dirigé par Michel Plasson

โจเซฟ ไฮเดิน


ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn) เป็นคีตกวีชาวออสเตรียในยุคคลาสสิค เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1732 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1809 เนื่องจากเป็นคีตกวีในความดูแลของราชสำนัก จึงได้ประพันธ์บทเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งซิมโฟนี และ บิดาแห่งสตริงควอเต็ต
นอกจากนั้น ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน ยังเป็นบิดาของ โยฮัน ไมเคิล ไฮเดิน (Johann Michael Haydn) คีตกวีคนสำคัญอีกท่านหนึ่งของออสเตรียอีกด้วย

ประวัติ วัยเด็ก

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองที่ไฮเดินเคยอาศัยอยู่โจเซฟ ไฮเดิน เกิดในหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งในเมืองโรห์โร ประเทศออสเตรีย ใกล้พรมแดนประเทศฮังการี บิดาคือนายมาเธียส ไฮเดิน เป็นช่างทำรถเทียมม้าที่หลงใหลในดนตรี ส่วนมารดาคือนางมาเรีย เป็นแม่ครัวในบ้านของคหบดีผู้ครองเมืองโรห์โร ไฮเดินเป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนทั้งหมด 12 คน ทั้งบิดาและมารดาของเขาไม่เคยเรียนรู้เรื่องตัวโน้ตมาก่อน แต่มาเธียส บิดาของโจเซฟก็เป็นนักดนตรีโฟล์คที่บรรเลงได้ไพเราะอยู่ไม่น้อยซึ่งได้มาจากการเรียนรู้ ฮาร์ป ด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้ ชีวิตวัยเด็กของเขาจึงเติบโตมากับครอบครัวนักดนตรีอย่างแท้จริง และมักจะมาร้องเพลงด้วยกันกับครอบครัวและกับเพื่อนบ้านอยู่บ่อยๆ
เมื่อไฮเดินอายุได้ 6 ขวบ โยฮันน์ มัธเธียส แฟร้งค์ (Johann Mathias Frank) นักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่และเป็นครูสอนดนตรีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งแห่งเมืองไฮน์เบอร์ก (Hainburg) ซึ่งเป็นญาติห่างๆกับบิดาของไฮเดิน เดินทางมาทำธุระที่โรห์โร และแวะมาเยี่ยมครอบครัวไฮเดิน เมื่อเขาได้ยินเด็กน้อยไฮเดินร้องเพลง ก็เกิดความสนใจ จนต้องเอ่ยปากกับบิดาของไฮเดินว่า หากเด็กน้อยคนนี้ได้รับการฝึกฝนอย่างถูกทางแล้วจะเป็นผู้มีชื่อเสียงทีเดียว แฟรงค์ได้เจรจาหว่านล้อมบิดาของไฮเดิน เพื่อขอรับเด็กน้อยไปอยู่ในความอุปการะของเขา โดยสัญญาว่าจะให้การศึกษา และเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ด้วยความรักอนาคตของลูกชาย แม้บิดาของเขาจะแสนรัก และอาลัยลูกเพียงใดก็ตาม แต่เนื่องจากบิดามารดาของไฮเดินสังเกตมานานแล้วว่าลูกชายของพวกเขามีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีอย่างมากและรู้ว่าหากอยู่ที่เมืองโรห์โรต่อไป เขาคงจะไม่มีโอกาสได้ซึมซับดนตรีอย่างจริงจัง จึงต้องตัดใจมอบลูกชายให้ไปอยู่กับแฟรงค์ เพื่อให้เขาเติบโตเป็นนักดนตรีอย่างแท้จริง ดังนั้น ไฮเดินจึงได้ออกเดินทางกับแฟร้งค์ไปยังเมืองไฮน์เบิร์กซึ่งอยู่ห่างออกไป 7 ไมล์จากบ้าน และจากนั้นเขาก็ไม่เคยได้กลับมาอาศัยอยู่กับบิดามารดาอีกเลย
ชีวิตในบ้านของแฟร้งค์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับไฮเดิน ซึ่งเขาต้องตกระกำลำบากกับความหิว และยังต้องทนอับอายขายหน้ากับการใส่เสื้อผ้าที่สกปรกตลอดเวลาอย่างไรก็ตาม เขาก็ได้อดทนอยู่เพื่อเริ่มเรียนดนตรีที่นั่น และจากนั้น เขาก็สามารถเล่นฮาร์ปซิคอร์ดและไวโอลินได้ จากนั้น ชาวเมืองไฮน์เบิร์กต่างก็สะดุดหูกับโซปราโนอันแหลมสูงของไฮเดินในคณะประสานเสียงของโบสถ์ ทำให้ใครก็ตามที่ได้ฟังเสียงร้องของไฮเดินจะประทับใจในเสียงของเขา
สองปีต่อมา (ในปี ค.ศ. 1740) เมื่อไฮเดินอายุได้ 8 ขวบ จอร์จ ฟอน โรธเธอร์ (Georg von Reutter) ผู้อำนวยการดนตรีของมหาวิหารเซนต์สตีเฟนในเมืองเวียนนา ได้สนใจในเสียงร้องของไฮเดินมาก อันที่จริงแล้วโรธเธอร์เป็นคนที่จะเดินทางค้นหาเด็กๆนักร้องประสานเสียงในโบสถ์ที่มีเสียงอันไพเราะอยู่เสมอ ไฮเดินสามารถผ่านการทดสอบเสียงร้องกับโรธเธอร์และจากนั้นก็ได้ย้ายมากรุงเวียนนา อันเป็นที่ทำงานของเขา 9 ปีในฐานะนักร้องประสานเสียงของมหาวิหาร และในสี่ปีหลังสุดก็ได้ร่วมร้องเพลงกับ มิเชล น้องชายแท้ๆของเขาที่นี่อีกด้วย ด้วยความสามารถในการร้องอันเป็นเลิศนี้เอง ทำให้เขาได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้านักร้องนำหมู่
อย่างไรก็ตาม ชีวิตของไฮเดินก็ไม่ต่างกับตอนอยู่กับแฟร้งค์เนื่องจากโรธเธอร์ก็ไม่ได้สนใจว่าไฮเดินได้ทานอาหารครบทุกมื้อหรือเปล่า ทำให้ชีวิตไฮเดินในช่วงนี้นั้นได้แต่เฝ้ารอคอยการออกแสดงหน้าผู้ชมที่มีฐานะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในบางครั้ง คณะนักร้องจะมีโอกาสได้ทานอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้มีจิตศรัทธาให้มานอกจากนั้น โรธเธอร์ก็แทบจะไม่ได้สนใจว่าจะให้นักร้องประสานเสียงของเขาได้รับการศึกษาวิชาดนตรีแต่อย่างใดเลย ถึงกระนั้น มหาวิหารเซนต์สตีเฟนนี้ก็เคยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางดนตรีชั้นนำของยุโรปเลยทีเดียว โดยมักจะมีเพลงใหม่ๆจากคีตกวีชั้นนำออกมาแสดงอยู่หลายครั้ง จึงเป็นโอกาสที่ไฮเดินจะได้เรียนดนตรีจากการสังเกตนักดนตรีระดับมืออาชีพของที่นี่ ทำให้ต่อมา หลังจากที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองที่มหาวิหารแห่งนี้ เขาจึงได้เติบโตเป็นนักดนตรีอาชีพที่มีความสามารถในที่สุด

ต่อสู้กับชีวิตนักดนตรีพเนจร

ต่อมาในปี 1749 เมื่อไฮเดินอายุได้ 17 ปี เขาก็ไม่สามารถร้องคอรัสเสียงสูงได้อีกต่อไปเนื่องจากเสียงที่เคยแจ่มใสก็เริ่มแตก เป็นเสียงห้าวเครือ ซึ่งตามกฎเขาจะต้องออกจากโรงเรียน แต่ครูทั้งหลายยังรักเขาอยู่ จึงให้อยู่ต่อไป แต่แล้ววันหนึ่งขณะที่เขาเห็นหางเปียของเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างหน้า ด้วยความคะนองเขาจึงเอากรรไกรที่ซ่อนไว้มาตัดหางเปียเพื่อน พอเจ้าเด็กน้อยคนนั้นรู้ตัวว่าหางเปียของตัวหายไปก็ร้องเอะอะโวยวายขึ้น เมื่อครูทราบจึงโกรธมาก ไฮเดินจึงต้องออกจากมหาวิหารเซนต์สตีเฟน ด้วยเหตุนี้เอง
จนในที่สุด เขาก็ถูกไล่ออกจากวง ทำให้เขากลายเป็นคนพเนจรไม่มีบ้านอยู่ มีชีวิตที่ลำบากมาก ความเป็นอยู่แร้นแค้น แต่ยังโชคดีที่ได้รับความเชื่อเหลือจากโยฮันน์ มิเชล สแปงเกลอร์ (Johann Michael Spangler) ที่ให้ไฮเดินมาอาศัยอยู่ที่ห้องใต้หลังคา ทั้งๆที่ลำพังแล้ว บ้านของสแปงเกลอร์ก็มีคนอาศัยไม่น้อย ไฮเดินได้มาอาศัยอยู่กับสแปงเกลอร์ซักระยะหนึ่งจึงทำให้เขาสามารถเริ่มหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นนักดนตรีพเนจรได้แล้ว
ในช่วงมรสุมของชีวิตนี้ ไฮเดินทำงานหลากหลายมาก ทั้งครูสอนดนตรี, นักดนตรีร่วมบรรเลงกับนักดนตรีริมถนนยามค่ำคืน, งานเต้นรำและงานพิธีฝังศพเป็นครั้งคราว โดยเป็นนักร้องบ้าง นักดนตรีบ้าง ได้เงินวันละ ๒-๓ ฟลอรินส์ พอจะเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไปวันหนึ่งๆ ในช่วงนี้เองเขาได้แต่งเพลง Serenade มาสำหรับบรรเลงในวง เพลงแรกของไฮเดินนี้ ถ้าใครได้ยินเป็นต้องหยุดยืนฟังให้จบ เพราะมีความไพเราะจับใจผู้ฟังอย่างยิ่ง ปรากฏเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ฟังทั้งหลายจนในวันหนึ่ง นิโคล่า พอร์พอร่า คีตกวีชื่อดังชาวอิตาลีมาได้เพลงนั้นเข้าก็เกิดความสนใจ พอรู้ว่าไฮเดินเป็นผู้แต่งเพลงนั้นก็รู้สึกสนใจในตัวไฮเดินมากและได้เอ่ยปากชักชวนไฮเดินให้มาอยู่กับเขา ไฮเดินจึงได้มาเป็นเลขานุการส่วนตัวและผู้ช่วยขับร้องของนิโคล่า พอร์พอร่า ตั้งแต่นั้นมา ซึ่งในภายหลัง เขากล่าวว่านี่เป็นที่ที่เขาได้เรียนรู้"รากฐานของการประพันธ์เพลงที่แท้จริงอีกด้วยนิโคล่า พอร์พอร่า ได้สอนให้ไฮเดินประพันธ์เพลง เรียนรู้ดนตรีทั้งทางทฤษฎีและทางปฏบัติ และนอกจากนั้นยังแนะนำให้เขารู้จักกับแวดวงสังคมชั้นสูงอีกด้วย
เมื่อครั้งที่ไฮเดินเป็นนักร้องประสานเสียงอยู่นั้น เขาไม่เคยได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์เพลงเลยและกลายเป็นช่องว่างในการเข้าถึงศาสตร์นี้อย่างมาก ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในศาสตร์นี้ เขาจึงเริ่มศึกษาหลักการแต่งเพลงจากหนังสือ Gradus ad Parnassum ของโยฮันน์ โจเซฟ ฟักซ์ และศึกษาผลงานของคาร์ล ฟิลิป เอ็มมานูเอล บาชอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งต่อมาเขาได้ถือว่าเป็นแนวทางสำคัญของการแต่งเพลงของเขาเลยทีเดียว

ในขณะที่ทักษะของไฮเดินกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น เขาก็เริ่มที่จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นจากผลงานการประพันธ์โอเปราเพลงแรกของเขา นั่นคือ Der krumme Teufel หรือ The Limping Devil ซึ่งประพันธ์ให้กับนักเขียนการ์ตูนโยฮัน โจเซฟ เฟลิกซ์ ครูซ เจ้าของฉายา "เบอร์นาร์ดอน" จากนั้น ผลงานเพลงของเขาก็ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในปี 1753 แต่หลังจากนั้นก็เงียบไปเนื่องจากถูกเซนเซอร์
ไฮเดินได้สังเกตว่าผลงานเพลงที่เขาแต่งขึ้นฟรีๆนั้นได้รับการนำไปเผยแพร่และจำหน่ายในร้านขายเพลงในท้องถิ่นอีกด้วย แต่เขาก็ไม่ได้รู้สึกกังวลใจใดๆ
หลังจากที่เขากำลังมีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆนั้น ในที่สุด ไฮเดินก็ได้มาอยู่ในสังคมชั้นสูง อันเป็นช่วงที่สำคัญยิ่งในช่วงชีวิตนักประพันธ์ของเขา เคาท์เทส ธัน (Countess Thun) ได้ฟังบทประพันธ์ของไฮเดินเพลงหนึ่งแล้วประทับใจมาก จึงได้เรียกตัวเขาและว่าจ้างให้มาเป็นครูสอนร้องเพลงและคีย์บอร์ดส่วนตัวของเธอ และบารอน คาร์ล โจเซฟ ฟูร์นเบิร์ก ( Carl Josef Fürnberg) ก็ได้ว่าจ้างไฮเดินและให้มาอยู่ที่ Weinzierl คฤหาสน์ในชนบทของเขา ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้ประพันธ์บทเพลงควอเต็ตเครื่องสายบทแรกๆ ต่อมา ฟูร์นเบิร์กได้แนะนำให้ไฮเดินรู้จักกับท่าน เค้านท์ ฟอน มอร์ซิน หลังจากนั้นในปี 1757 เค้านท์ ฟอน มอร์ซิน ก็ได้ว่าจ้างไฮเดินที่เมือง Lukavec ซึ่งเป็นการทำงานเต็มเวลาครั้งแรกของเขา

อาชีพนักประพันธ์

ภาพวาดไฮเดิน โดยจิตรกรลุดวิจ กุตเตนบรันน์ ปี 1770งานหลักๆของไฮเดินภายใต้การว่าจ้างของ เค้านท์ ฟอน มอร์ซิน คือ Kapellmeister หมายถึงผู้กำกับดนตรีนั่นเอง (มาจากภาษาเยอรมัน) เขาเป็นคนคุมวงออเคสตราเล็กๆวงหนึ่งและที่นี่เองที่เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนีบทแรก ในกุญแจเสียง D major เพื่อใช้ในการบรรเลงของวงนี้ ในขณะที่เขามีอายุได้ 27 ปีพอดี อันถือว่าเป็นผลงานซิมโฟนีชิ้นแรกของโลก เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น"บิดาแห่งซิมโฟนี" (ก่อนหน้านี้ คำว่า ซิมโฟนี ไม่เคยปรากฏในโลกของดนตรีเลย)
จากนั้นในปี 1760 ไฮเดินได้ตกหลุมรักลูกศิษย์คนหนึ่งจากจำนวนสองพี่น้องที่มาเรียนดนตรีกับเขานั่นก็คือ เธเรซี เคลเลอร์ (Therese Keller) ซึ่งเป็นลูกสาวของช่างตัดผม หลังจากที่มีความมั่นคงในหน้าที่การงานเรียบร้อยแล้ว เขาจึงได้ขอเธอแต่งงาน แต่เนื่องจากหญิงผู้นี้จะต้องเข้าคอนแวนต์ และต่อมาทางฝ่ายบิดาของผู้หญิงก็สนับสนุนให้แต่งงานกับพี่สาวที่มีอายุแก่กว่าเธอสี่ปี มีชื่อว่ามาเรีย อานนา เคลเลอร์ (Maria Anna Aloysia Apollonia Keller (1729–1800)) ไฮเดินจึงยอมรับที่จะแต่งงาน แต่ทั้งคู่ไม่มีความสุขกับชีวิตสมรส ทั้งนี้ก็เพราะมีอะไร ๆ หลายอย่างที่ไม่สามารถจะไปกันได้ จนในที่สุดต้องแยกทางกันในอีกไม่กี่ปีต่อมาโดยไม่มีบุตรด้วยกัน และในปีนี้ เขาได้ประพันธ์ ซิมโฟนี่หมายเลข 2 ในกุญแจเสียง C Major ขึ้นมาอีกด้วย
ในปี 1761 เค้านท์ ฟอน มอร์ซิน ได้เลิกวงดนตรี แต่โจเซฟ ไฮเดินก็มาได้ตำแหน่งงานผู้ช่วยหัวหน้าวงในครอบครัวคหบดีที่ร่ำรวยที่สุดครอบครัวหนึ่งในยุโรป นั่นคือครอบครัวของเจ้าชายปอล แอนตัน เอสเตอร์ฮาซี (Paul Anton Esterházy)แห่งฮังการีในพระราชวัง Schloss Esterházy เมือง Eisenstadt อยู่นอกกรุงเวียนนา 30 ไมล์ อันเป็นของตระกูลเจ้านายขั้นสูงสุดรองจากกษัตริย์ในสมัยนั้น ปีนี้เขาได้ประพันธ์ ซิมโฟนี่หมายเลข 3 ในกุญแจเสียง G Major, หมายเลข 4 ในกุญแจเสียง D Major, หมายเลข 5 ในกุญแจเสียง A Major และเพลงอื่นๆ อีกมาก[19] ต่อมา เจ้าชายปอล แอนตัน เอสเตอร์ฮาซีได้สิ้นพระชนม์ลง และเจ้าชายนิโคลัส เอสเตอร์ฮาซี พระอนุชาผู้ได้รับสมญานามว่า "The Magnificent" ได้เป็นผู้สืบทอดรัชทายาท ได้สร้างพระราชวัง Eszterháza ขึ้นราวทศวรรษที่ 1760 ไฮเดินได้ทำงานอยู่ที่นั่นในตำแหน่งหัวหน้าวงเนื่องจากหัวหน้าวงคนก่อนเสียชีวิตไป เขาทำงานนานถึงสามสิบปี ซึ่งเป็นงานอันทรงเกียรติ ตลอดเวลาเขาจะได้สวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์อย่างสวยงาม ดำรงตำแหน่งที่มีมาแต่โบราณของตระกูลนี้ ไฮเดินมาหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากมายหลายด้าน เป็นทั้งนักประพันธ์ นักควบคุมวงออเคสตรา บรรเลงแชมเบอร์มิวสิค (chamber music)ร่วมกับผู้อุปการะ และสุดท้ายคือการควบคุมวงโอเปร่า ถึงแม้งานจะค่อนข้างหนัก แต่ไฮเดินก็คิดว่าเป็นงานของศิลปินที่สร้างโอกาสให้กับชีวิตของเขาได้ดีมาก เจ้าชายแห่ง Esterházy ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีที่ประทับใจฝีมือของไฮเดินมาก และอนุญาตให้เขาสามารถบรรเลงเพลงวงออเคสตราของพระองค์เองได้อย่างอิสระในแต่ละวัน มุมหนึ่งของพระราชวัง Eszterházaตลอดช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้ประพันธ์บทเพลงไว้มากมาย ทั้งซิมโฟนี ควอร์เต็ตเครื่องสาย คอนแชร์โต้ โซนาต้าสำหรับเครื่องดีด บทเพลงสำหรับบาริโทน โอเปร่า บทเพลงเพื่องานรื่นเริง รวมถึงบทเพลงทางศาสนา ความโด่งดังของโจเซฟ ไฮเดินเป็นที่ขจรขจายไปทั่วทวีปยุโรป นักดนตรีในวงของเขาได้ตั้งฉายาให้เขาว่า คุณพ่อไฮเดิน เนื่องจากไฮเดินได้ดูแลพวกเขาเป็นอย่างดี
เจ้าชายนิโคลัส เอสเตอร์ฮาซี ผู้อุปการะคุณคนสำคัญของไฮเดินยิ่งนานไป ไฮเดินก็ยิ่งรู้สึกว่าเหงาและโดดเดี่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคราวต้องมาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในแต่ละปีที่พระราชวัง Esterháza ซึ่งห่างไกลจากกรุงเวียนนา แทนที่จะได้อยู่ที่พระราชวัง Eisenstadt ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเวียนนามากกว่าไฮเดินจึงอยากจะกลับไปยังเวียนนาซักระยะเนื่องจากเขามีเพื่อนสนิทอยู่ที่นั่นมากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนึ่งในนั้นคือมิตรภาพกับ มาเรีย แอนนา วอน เกนซิงเกอร์ (Maria Anna von Genzinger) ผู้เป็นภรรยาของนายแพทย์ส่วนพระองค์ของเจ้าชายนิโคลัสในกรุงเวียนนา ซึ่งหญิงคนนี้มีความเกี่ยวข้องกับบทประพันธ์ของเขาในปี 1789 อย่างมาก ไฮเดินได้เขียนจดหมายถึงมาดามเกนซิงเกอร์บ่อยมาก โดยมักจะพรรณาถึงความเหงาและโดดเดี่ยวที่ Eszterháza และพรรณาถึงช่วงเวลาแห่งความสุขของโอกาสเล็กๆน้อยๆที่เขาได้ไปเจอเธอที่เวียนนา นอกจากนั้น ไฮเดินยังได้เขียนถึงเธอบ่อยมากเมื่อคราวที่เขาเดินทางไปยังลอนดอน ข่าวการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของมาดามเกนซิงเกอร์ในปี 1973 นั้นทำให้ไฮเดินเสียใจอย่างมาก โดยเขาได้ประพันธ์เพลงบรรยายความรู้สึกของเขาเอาไว้ใน F minor variations สำหรับเปียโน ฮอบ XVII:6 อาจจะเป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงอารมณ์เศร้าต่อการจากไปของเธอมากที่สุดก็เป็นได้ ภาพวาดโมซาร์ท โดยโจเซฟ แลนจ์นอกจากมาดามเกนซิงเกอร์แล้ว ในปี 1781 โจเซฟ ไฮเดินได้ผูกมิตรกับโมซาร์ท สหายต่างวัย แม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันกว่า 24 ปี ทั้งคู่มีอิทธิพลทางดนตรีซึ่งกันและกัน จนเป็นเพื่อนสนิทกัน ผู้คนในสมัยนั้นมักจะเห็นทั้งคู่เล่นสตริงควอเต็ตด้วยกันบ่อยครั้ง ฝ่ายโมซาร์ทเห็นว่าไฮเดินมีอัจฉริยะภาพในทางดนตรี และฝ่ายไฮเดินก็มองโมซาร์ทว่า โมซาร์ทเป็นอัจฉริยะที่แท้จริง
ฉันพึ่งเคยเห็นความอัจฉริยะทางดนตรีซึ่งในยุคไม่มีใครเทียบได้ จนเขียนจดหมายส่งไปหาพ่อของโมซาร์ทและยกย่องโมซาร์ทว่า "โมซาร์ทนั้นเปรียบเสมือนเป็นบุตรที่พระเจ้าประทานพรมาให้และสร้างความรื่นเริงแก่มวลชน ซึ่งข้าพเจ้าเทียบไม่ติดเลยกับโมซาร์ท ข้าเลยต้องคุกเข่าให้แก่โมซาร์ท ซึ่งเหนือกว่าข้าเสียอีกด้วยซ้ำ
ไฮเดิน
เดินทางไปลอนดอน
ในปี 1790 หลังจากที่เจ้าชายนิโคลัสสิ้นพระชนม์และมีเจ้าชายพระองค์ใหม่ซึ่งไม่ทรงโปรดดนตรีมาดำรงตำแหน่งแทน เจ้าชายพระองค์นี้ได้ยกเลิกสถาบันดนตรีทั้งหมดและจ่ายเงินบำนาญให้กับไฮเดินแทน หลังทางที่ไม่มีพันธะสัญญาใดๆแล้ว ไฮเดินจึงสามารถตอบตกลงข้อเสนอที่มีค่าตอบแทนอย่างงามจากโยฮันน์ ปีเตอร์ โซโลมอน (Johann Peter Salomon) ผู้อำนวยการแสดงชาวเยอรมันได้ โดยเป็นข้อเสนอให้ไฮเดินเดินทางไปยังประเทศอังกฤษและทำหน้าที่ควบคุมวงซิมโฟนีใหม่และวงออเคสตราขนาดใหญ่

การไปเยือนอังกฤษทั้งสองครั้ง คือในปี 1791-1792 และ 1794-1795 ทำให้เขาประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางดนตรีให้แก่ไฮเดิน[23] โดยจัดพิธีอย่างใหญ่โตและนายกเทศมนตรีเป็นผู้มอบให้ นับเป็นความภาคภูมิใจในชีวิตของเขาที่ได้รับเกียรติอันนี้
การเดินทางไปเยือนอังกฤษนี้ ไฮเดินได้ประพันธ์ผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในวงการดนตรี ซึ่งได้แก่ Surprise, Military, Drumroll และ London symphonies, ควอเต็ต Rider, และเปียโนทริโอ Gypsy Rondo ความผิดพลาดครั้งเดียวของเขาในอาชีพนี้ก็คือการประพันธ์โอเปร่าเพลง Orfeo ed Euridice หรือที่รู้จักกันในชื่อของ L'Anima del Filosofo ที่ไฮเดินได้สัญญาว่าจะประพันธ์ขึ้น แต่ก็ไม่ได้นำมาออกแสดงเนื่องจากถูกระงับโดยกลุ่มผู้ก่อกวน ขณะนี้ไฮเดินอยู่ในกรุงลอนดอนก็ได้รับข่าวการมรณกรรมของโมสาร์ท ทำให้เขาโศกเศร้าสะเทือนใจอย่างมากเพราะโมสาร์ทอายุยังน้อยและกำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง ไฮเดินพำนักอยู่ในลอนดอนจนกระทั่งถึงกลางปี 1792 จึงได้เดินทางกลับกรุงเวียนนาพร้อมด้วยงานที่แต่งใหม่เป็นจำนวนถึง 768 หน้า และได้เงิน 24,000 ฟลอรินส์ (ประมาณ 2,400 ดอลล่าร์สหรัฐ) ว่าเป็นรายได้ที่งามพอควร ดังนั้น ฐานะทางการเงินของเขาจึงถือว่ามั่นคงทีเดียว ภาพวาด เบโทเฟิน สมัยวัยรุ่นโดยจิตรกร คาร์ล โทรกอตต์ ริดเดล (Traugott Riedel) ในปี 1769ด้วยเกียรติประวัติอันดีงามที่ไฮเดินได้สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและชาติบ้านเกิดเมืองนอนของตน Count Harrach จึงได้สร้างอนุสาวรีย์ให้เป็นเกียรติแก่ไฮเดิน ที่เมืองโรห์โร บ้านเกิดของเขา เมื่อปี 1793
ในขณะที่ไฮเดินจะเดินทางไปที่กรุงลอนดอน จึงผ่านกรุงบอนน์ และได้พบกับเบโทเฟิน เมื่อได้ฟังเบโทเฟินเล่นเปียโนแล้วก็กล่าวว่า “เด็กคนนี้มีความสารถสูง” ต่อมาเเบโทเฟินก็ไปพบไฮเดน พร้อมกับนำเพลงต่าง ๆที่เขาแต่งให้ไฮเดินดูด้วย พอไฮเดินดูรู้สึกพอใจเป็นอย่างยิ่งและกล่าวกับเบโทเฟินว่า “ถ้าเธอไปหาฉันที่เวียนนา ฉันจะสอนให้” ดังนั้น ในปี 1792 เขาเดินทางไปยังกรุงเวียนนาอีกเป็นครั้งที่ 2 และไปเรียนดนตรีกับไฮเดินอยู่เกือบปี ในตอนแรกเขามีความนิยมชมชอบในตัวไฮเดินซึ่งเป็นครู แต่ต่อมา เวลาเรียนดนตรีกับไฮเดินนั้น เบโทเฟินมักจะมีความคิดแย้งกับไฮเดิน เพราะว่า ทฤษฏีของไฮเดินนั้นดูจู้จี้และขี้บนเกินไป และฝ่ายไฮเดินไม่พอใจกับศิษย์มากเท่าใดนั้นเพราะว่า เบโทเฟินเป็นคนหัวแข็ง ไม่ฟังอาจารย์สอน และไฮเดินก็ไม่ชอบเพลงทริโอของเบโทเฟินมากนัก เบโทเฟินต้องแอบไปเรียนการแต่งเพลงกับโจฮันน์ จอร์จ อัลเบรชสเบอร์เกอร์ (Johann George Albrechsberger) อยู่ 2 ปี เบโทเฟินได้เก็บเป็นความลับมานานจนไฮเดินรู้ ความลับแตก ไฮเดินโกรธมากเพราะว่าเขาไม่เคยสนใจไฮเดินเลย เบโทเฟินเคืองจัด ตะวาดด้วยความไม่มียั้งคิดออกมาว่า "แล้วทำไมจะให้ฉันต้องดำเนินทฤษฏีดนตรีแบบแผนเก่า ๆ ไปอีกด้วย ฉันมีสไตล์ของฉัน" และความสัมพันธ์ของไฮเดินและเบโทเฟินต้องแยกจากกัน แต่ไฮเดินก็คิดว่า เบโทเฟินจะมีความคิดยังไงก็ช่างเขาเถอะ เขาถือว่าสอนศิษย์แล้ว ก็คือว่า ศิษย์มีครูก็แล้วกัน

ชีวิตบั้นปลายที่เวียนนา
ในปี 1795 เขาจึงได้กลับมาตั้งรกรากในบ้านหลังใหญ่หลังหนึ่งบริเวณชานเมือง Gumpendorf ของกรุงเวียนนา และหันมาประพันธ์บทเพลงออเคสตราและคอรัสสำหรับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ โดยรวมไปถึงบทสวดอมตะสองบท (The Creation และ The Seasons) และบทเพลงสดุดีครอบครัวเอสเตอร์ฮาซี่ 6 เพลง ซึ่งต่อมาได้ทำให้เจ้าชายที่ไม่ทรงโปรดดนตรีสนใจดนตรีมากยิ่งขึ้น ไฮเดินยังได้ประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีบางชนิดโดยเฉพาะอีกด้วย เช่น ทรัมเป็ตคอนแซร์โต และ9 เพลงสุดท้ายของเขาก็เป็นซีรีส์สตริงควอเต็ตยาวของเขา รวมไปถึงควอเต็ต Fifths, Emperor และ Sunrise ด้วย

ในปี 1802 ไฮเดินต้องหยุดการประพันธ์ผลงานเพลง เนื่องด้วยความเหนื่อยล้าและป่วยหนัก เพราะตรากตรำทำงานหนักมากเกินไปในช่วงชีวิตที่ผ่านมา และซึ่งก็ถือว่าเป็นงานที่ยากสำหรับเขาอย่างไม่ต้องสงสัยเลย เนื่องจากไฮเดินนั้นจะคิดไอเดียใหม่ๆในการประพันธ์เพลงออกมาได้ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้เลย ไฮเดินได้รับการดูแลจากบรรดาบริวารของเขาเป็นอย่างดี เขาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติมากมายและมีแขกมากหน้าหลายตาแวะเวียนมาหาในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา แต่ชีวิตช่วงนี้ก็ไม่ได้เป็นช่วงที่มีความสุขสำหรับเขานัก
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ปี 1809 อาการป่วยได้คุกคามจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อ เขาได้ขอร้องให้ใครก็ได้ช่วยพยุงเขาไปที่เปียโนเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเขาเล่นเพลง Gott erhalte Franz den Kaiser ที่เขาประพันธ์ด้วยตัวเองตั้งแต่ปี 1797 เพื่อแสดงถึงความรักชาติและเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิ ฟร้านซ์ ที่ 2 (Emperor Franz II)เนื่องในวันพระราชสมภพ เขาเล่นเพลงนี้พร้อมแก้ไขไปด้วยกันทั้งหมด 3 ครั้ง ก่อนที่เมโลดี้ของเพลงนี้จะได้กลายมาเป็นเพลงชาติของออสเตรียและเยอรมนีในเวลาต่อมา
จากนั้นไม่นาน ไฮเดินก็เสียชีวิตลงเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม ปี 1809 สิริรวมอายุได้ 77 ปี หลังจากที่กรุงเวียนนาถูกกองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของจักรพรรดินโปเลียนเข้ายึดครองไม่นานนัก คำสั่งเสียสุดท้ายของเขานั้นดูเหมือนจะเป็นคำพูดที่บอกให้บริวารของเขาใจเย็นลงและมีความอุ่นใจมากขึ้นในคราวที่ลูกกระสุนปืนใหญ่ตกใกล้ๆละแวกบ้านของเขา ศพของไฮเดินนั้นดูไม่น่าชมเท่าไรนัก เป็นต้นว่าศีรษะหายไป โดยที่ไม่มีใครพบศีรษะของเขาอีกเลย
สองสัปดาห์ต่อมา ทหารฝรั่งเศสได้มีการจัดพิธีฝังศพให้เขาอย่างสมเกียรติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ปี 1809 ที่โบสถ์สกอตเทนเคิร์ช (Schottenkirche) กรุงเวียนนา ซึ่งได้มีการบรรเลงเพลงสวด K.626 ของโมสาร์ทให้กับดวงวิญญาณของเขาด้วย จึงมีคนเรียกเขาโดยทั่วไปว่า คุณพ่อไฮเดิน(Papa Haydn) เมื่อไฮเดินเสียชีวิตไปแล้ว เขาได้ทิ้งมรดกทางดนตรีไว้ให้แก่โลกมากมาย ทั้งซิมโฟนี หมายเลข 104 อันโด่งดัง, เพลง Stage works 16 เพลง, Overtures 16 เพลง, สตริงควอเต็ต 85 เพลง, คอนเซอร์โตจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีเพลงเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อีกมากมายหลายร้อยเรื่อง

ผลงาน
1.โอตาริโอหลายบท เป็นต้นว่า พระเจ้าสร้างโลก (Hob. XXI:2) และฤดูกาล (Hob. XXI:3)
2.เพลงสวดมิสซา 14 บท รวมถึงมิสซา เนลสัน
3.ซิมโฟนี 104 บท รวมถึงซิมโฟนีหมายเลข 103 ที่โด่งดัง
4.บทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยวงควอเต็ตเครื่องสายอีก 84 บท รวมถึง ควอเต็ต โอปุสที่ 76 หมายเลข 2 อันโด่งดัง
5.ทริโอ 31 บทสำหรับบรรเลงกับเปียโน
6.โซนาต้าสำหรับเปียโน 60 บท
โยฮันน์ ฟรีดริช ฟรานซ์ เบิร์กมุลเลอร์

โยฮันน์ ฟรีดริช ฟรานซ์ เบิร์กมุลเลอร์ (Johann Friedrich Franz Burgmüller) เป็นคีตกวีชาวเยอรมัน เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2349 ที่เมืองโรเซนเบิร์ก เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2417 ที่ชานกรุงปารีส

ประวัติ
บิดาชื่อนายโยฮันน์ ออกุสต์ ฟร้านซ์ เบิร์กมุลเลอร์ ซึ่งเป็นผู้จัดการแสดงดนตรีในเมืองดุสเซลดอร์ฟ มีน้องชายชื่อ นอร์เบิร์ต เบิร์กมุลเลอร์ ซึ่งเป็นคีตกวีเช่นกัน แต่มีชื่อเสียงมากกว่าในสมัยนั้น

เบิร์กมุลเลอร์ได้เรียนกับลุดวิก สปอร์ และมอริซ ฮอปต์มันน์ ระหว่างปี พ.ศ. 2335 - 2411 หลังจากนั้นก็ได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2417

ผลงาน
เบิร์กมุลเลอร์ได้รับอิทธิพลทางดนตรีของฝรั่งเศส เขาได้แต่งเพลงแชมเบอร์มิวสิคไว้เป็นจำนวนมาก แต่งานที่โด่งดังของเขาได้แก่บทเพลงสำหรับฝึกหัดเปียโน (โอปุสที่ 68 76 97 100 และ 105) ซึ่งเหมาะกับเด็กเล็กที่มีมือขนาดเล็ก เนื่องจากไม่มีการจับคีย์แบบคู่แปด (ห่างกันมากสุดเจ็ดคีย์) เป็นบทเพลงสั้นๆและ มีท่วงทำนองไพเราะถูกใจเด็กๆ

25 บทเพลงบรรเลงเปียโนสำหรับเด็ก
โอปุสที่ 100

หมายเลข 1 - ลา ก็องเดอ (ความซื่อตรง) ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์
หมายเลข 2 - ลาราเบสก์ (เพลงสั้นๆ) ในบันไดเสียง เอไมเนอร์
หมายเลข 3 - ลา ปาสโตราล (ทุ่งหญ้า) ในบันไดเสียง จีเมเจอร์
หมายเลข 4 - ลา เปอติต เรอูนิยง (งานเลี้ยงเล็กๆ) ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์
หมายเลข 5 - อังโนซ็องซ์ (ไร้เดียงสา)ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์
หมายเลข 6 - โปรเกร (ความก้าวหน้า) ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์
หมายเลข 7 - เลอ กูร็อง ลิมปิด (สายน้ำใส) ในบันไดเสียง จีเมเจอร์
หมายเลข 8 - ลา กราเซียส (สง่างาม) ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์
หมายเลข 9 - ลา อาส (ไล่กวด) ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์
หมายเลข 10 - ต็องเดรอ เฟลอร์ (ดอกไม้อันอ่อนโยน) ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์
หมายเลข 11 - ลา แบร์เจอรอนเน็ต (กระดิกหาง) ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์
หมายเลข 12 - ลาดิเยอ (คำอำลา) ในบันไดเสียง เอไมเนอร์
หมายเลข 13 - ค็องโซลาชิยง (ปลอบใจ) ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์
หมายเลข 14 - ลา สตีเรียน ในบันไดเสียง จีเมเจอร์
หมายเลข 15 - บาลาด (เพลงช้า)ในบันไดเสียง ซีไมเนอร์
หมายเลข 16 - ดูซ ปลังต์ (คำบ่นอันนุ่มนวล) ในบันไดเสียง จีไมเนอร์
หมายเลข 17 - ลา บาบิยาร์ด (The Chatterbox) ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์
หมายเลข 18 - อังกิเอตูด (ความกังวล) ในบันไดเสียง อีไมเนอร์
หมายเลข 19 - อาเว่ มารีอา (เพลงสวด) ในบันไดเสียง เอเมเจอร์
หมายเลข 20 - ลา ตาร็องเตลลา ในบันไดเสียง ดีไมเนอร์
หมายเลข 21 - ลาร์โมนี เด ซ้องจ์ (ความกลมกลืนของเทพ) ในบันไดเสียง จีเมเจอร์
หมายเลข 22 - บากาโรเล (The Chantey) ในบันไดเสียง เอแฟลตเมเจอร์
หมายเลข 23 - เลอ เรอตูร์ (การกลับมา) ในบันไดเสียง อีแฟลตเมเจอร์
หมายเลข 24 - ลิร็องเดล (นกนางแอ่น) ในบันไดเสียง จีเมเจอร์
หมายเลข 25 - ลา เชอวาเรสก์ (สุภาพสตรีขี่ม้า) ในบันไดเสียง ซีเมเจอร์